โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข : เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา” กลุ่มเครือข่ายอาชีวศึกษานครสวรรค์ 5 สถาบัน

  • 18 พฤศจิกายน 2566
ดำเนินจัดกิจกรรมให้กลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มบุคลากรครูจากเครือข่ายอาชีวศึกษานครสวรรค์ 4 สถาบัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 24 คน

 

โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข : เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา”
กลุ่มเครือข่ายอาชีวศึกษานครสวรรค์ 5 สถาบัน
 
         ดำเนินจัดกิจกรรมให้กลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มบุคลากรครูจากเครือข่ายอาชีวศึกษานครสวรรค์ ๕ สถาบัน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๒๔ คน ประกอบไปด้วย วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ จำนวน ๑๑ คน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ จำนวน ๕ คน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ จำนวน ๒ คน และวิทยาลัยการอาชีพตากฟ้า จำนวน ๖ คน ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ ๑๘-๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ คน โดยครั้งนี้เป็นการเรียนรู้ ครั้งที่ ๒ หัวข้อ “การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ (Nature Connection)” ซึ่งตัวกิจกรรมนี้จะนำพาผู้เข้าร่วมไปถึงจุดไหนขึ้นอยู่กับความรู้สึกและประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย บางคนอาจได้ลึกไม่เท่ากัน ความรู้สึกและประสบการณ์จะเป็นตัวนำพาไปให้เข้าใจโดยไม่ได้เป็นการบังคับหรือสร้างความบีบคั้น ต้นไม้ต้นเดียวกัน อาจมี การรับรู้ที่แตกต่างกัน และกิจกรรมนี้คือการเตรียมเราให้อยู่ในระดับที่เรียนรู้ได้ ทั้งนี้ กิจกรรม Nature Connection จะดีต้องมี ๔ องค์ประกอบได้แก่ ๑) กระบวนกร ๒) สถานที่ ๓) กระบวนการ ๔) ผู้เข้าร่วม ซึ่งสำคัญมากเพราะแต่ละคนมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ที่ได้ก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ Check in ความรู้สึกหัวข้อ “ฉันกับธรรมชาติ” Sound Map การฟังเสียงธรรมชาติ การถ่ายภาพโดยใช้สายตาเพื่อเปิดมุมมองของตนเองกับธรรมชาติ การวาดภาพปะจุดเพื่อการภาวนาในรูปแบบ Contemplative drawing โดยวันแรกมุ่งเน้นให้ตนเองกลับมาอยู่กับธรรมชาติในใจตนเอง วันที่สองเริ่มส่งต่อและเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว ผ่านกิจกรรม As a tree ให้ทุกคนเดินรอบ ๆ พื้นที่เพียงลำพัง เมื่อได้ยินเสียงระฆังขอให้หยุด พิจารณาความรู้สึกของตนเองที่เหยียบบนพื้นหญ้า และขอให้ฟังสัญญาณเกียร์ โดยหากมีการประกาศเริ่มเกียร์ ๒ ขอให้เดินเร็วขึ้น และเกียร์ ๓ เร็วขึ้นตามลำดับ และขอให้ฟังบทอ่านต้นไม้ ให้เปรียบตนเองเป็นต้นไม้ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมลดความกังวลที่ปกคลุมใจ พยายามเดินสำรวจพื้นที่ เปิดใช้อาตยนะทั้งหมดด้วยใจที่สบาย ลองดูสิ่งที่เกิดขึ้น ลองดูว่าเราจะพบเจออะไรใหม่ๆหรือไม่ จิตตปัญญาเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์จริง ความหมายที่พูดจากใจ เห็นคุณค่าของกิจกรรมนั้น ๆ และขอให้สังเกตว่า อะไรหรือสิ่งใดกิจกรรมใดที่ดึงดูดเรา และอะไรเป็นสิ่งที่ผลักใส ทำให้ได้สะท้อนตัวเราให้เกิดการเรียนรู้ตนเอง ได้กลับเข้ามาดูตนเองอย่างไร ขอให้ดำเนินเพียงลำพังห้ามพูดคุย จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมภาวนากับบทภาวนาแห่งผืนดิน และเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของกิจกรรมคือ Nature Wisdom คือ ให้หาจุดที่ดึงดูดเราให้เข้าไปสัมผัส พยายามเป็นส่วนหนึ่งของตรงจุดนั้น ประมาณ ๓๐ นาที แล้วดูว่าเกิดการเรียนรู้ เกิดการเข้าใจใหม่ หรือได้คำตอบอะไรบางอย่าง
 
          ตัวอย่างเสียงสะท้อนบทเรียนจากการเชื่อโยงกับธรรมชาติ เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทการรับรู้ส่วนต่างๆ วันแรกอยู่กับตัวเองมากขึ้น สงบ ฟังมากขึ้น ฟังเสียงที่ไม่ค่อยได้สนใจมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น เปิดต่อมการรับรู้ โดยใช้ใจ ไม่ใช้ตา วันที่สอง เข้าถึงธรรมชาติได้มากขึ้น, รู้จักการปล่อยวางมากขึ้น อะไรที่ไม่สำคัญต้องปล่อยวางลงบ้าง เห็นตัวตนตัวเองชัดมากขึ้น, เห็นความกลัวของตัวเอง เชื่อมโยงตัวเองกับธรรมชาติได้ลึกซึ้งเพราะเรานิ่งสงบมีสมาธิ, การรับรู้ธรรมชาติด้วยท่าทีที่เคารพ และนอบน้อมเราจะค้นพบบางอย่างได้มากขึ้น จิตเดิมแท้ เสียงข้างในจะเปิดเผยตัวออกมาได้ เมื่อเรามีความว่างมากพอ จิตเดิมแท้จะมีความฉลาดมากๆ ถ้าเราเงียบและสงบจริงๆสิ่งนี้จะนำทางให้เราได้ บางสิ่งที่ธรรมชาติซ่อนอยู่ก็จะสามารถใช้ใจในการเรียนรู้ได้มากขึ้น, คนทุกคนอาจไม่ได้คิดเหมือนเรา สิ่งที่เราเห็น-รู้ก็แตกต่างกันไป ต้องฟังกัน ต้นไม้มีการเติบโตตามฤดูกาล ทำให้เราเข้มแข็ง และมองคนอื่นกว้างมากขึ้น ฯลฯ
 
Back To Top