จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร รุ่นที่ 1/2567

  • 19 มิถุนายน 2567
จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร รุ่นที่ 1/2567 วันที่ 19 - 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 - 17.00 น.

 

จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร รุ่นที่ 1/2567

วันที่ 19 - 21 มิถุนายน 2567

ณ ห้องภาวนาชั้น 3 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

 

วิทยากรโดย
ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร

การอบรม 3 วัน ที่เน้นการกลับมามีประสบการณ์ตรงด้วยการใช้ภูมิปัญญาจากทั้งสามฐาน การตระหนักรู้เท่าทันภายในตนเอง และการสร้างความคุ้นเคยต่อเครื่องมือที่ใช้ในการใคร่ครวญแบบต่าง ๆ รวมถึงการนำประสบการณ์และเครื่องมือเหล่านั้นไปใช้ในการแสวงหาความรู้และเห็นการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในแนวคิดทฤษฎี และการประยุกต์ใช้บนหนทางที่เข้าถึงคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง

 

หลักการและเหตุผล

จิตตปัญญาศึกษาเป็นแนวคิดใหม่ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่พยายามข้ามพ้นไปจากข้อจำกัด
เดิม ๆ ของการศึกษาในกระแสหลัก จิตตปัญญาศึกษาได้ก่อกำเนิดขึ้นในวงการการศึกษามาตั้งแต่ปี 2549 เมื่อครั้งสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีมติให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นในมหาวิทยาลัย ด้วยวัตถุประสงค์สำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ กระนั้น แนวคิดและแนวทางปฏิบัติแบบจิตตปัญญาศึกษาก็ยังอยู่ในวงแคบที่ยังไม่เป็นที่รับรู้มากนัก แม้แต่ในมหาวิทยาลัยมหิดลเอง ส่วนหนึ่งอาจเพราะตัวแนวคิดเองที่มีความเป็นนามธรรมสูงและทำความเข้าใจผ่านมุมมองทางวิชาการได้ยาก ส่งผลให้คนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงวิธีการและเครื่องมือที่มีความสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าวจนสามารถนำไปใช้สร้างการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมได้เท่าที่ควร

เป้าหมายของการเรียนรู้ในคอร์ส จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร นี้ ต้องการจะนำพาผู้เรียนให้มีประสบการณ์ เกิดความรู้จัก ความคุ้นเคย และความเข้าใจที่ถ่องแท้ต่อแนวคิดแบบจิตตปัญญาศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับจิตสำนึกของผู้เรียน เริ่มเห็นแยกแยะได้ระหว่างการศึกษารูปแบบเดิมที่มีข้อจำกัดกับการเรียนรู้แนวใหม่ที่เพิ่มเติมอิสรภาพในความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการประยุกต์ใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ บนหนทางการแสวงหาความรู้ดังกล่าวจนเข้าถึงคุณค่าที่แท้จริงของจิตตปัญญาศึกษาได้ นั่นคือการกลับมาเห็นและยอมรับความเป็นทั้งหมดแห่งความเป็นมนุษย์ภายในตนเอง บนฐานของการมีความรักความเมตตา

วัตถุประสงค์

  • สร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากภูมิปัญญาทั้ง 3 ฐาน ได้แก่ ฐานหัว ฐานใจ และฐานกาย
  • มีประสบการณ์การเจริญสติภาวนา และสามารถเชื่อมโยงได้กับชีวิตประจำวัน
  • สร้างการตระหนักรู้ในตนเอง และเท่าทันรูปแบบของความรู้สึก / ความคิดที่ตนเองมักยึดติด
  • ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของจิตสำนึก โดยอาศัยเครื่องมือการสื่อสารอย่างลึกซึ้ง
  • สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นรูปธรรมในบริบทต่าง ๆ ได้

อัตราค่าลงทะเบียน
Early Bird 5,000 บาท/ท่าน (วันนี้ถึง 7 มิถุนายน 2567 หลังจากนั้น 5,500 บาท)

ช่องทางการสมัคร : https://forms.gle/vVuqmv5KbuzdzHJj6

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศรายุทธ์ ทัดศรี
02-441-5022-3 ต่อ 28
srayoot.tha@mahidol.ac.th / Line OA @daf2010w

Back To Top