กลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

  • 11 ตุลาคม 2566
มีการจัดอบรมเพื่อบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และขยายไปสู่การเป็นวิทยาลัยต้นแบบให้กับวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงในหลักสูตรต่อยอด สอนนอกกรอบ : ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงภายใน การจัดอบรมครั้งที่ 2 ในวันที่ 11-12 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง จังหวัด

 

โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข : เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา”
กลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
 
 
         มีการจัดอบรมเพื่อบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และขยายไปสู่การเป็นวิทยาลัยต้นแบบให้กับวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงในหลักสูตรต่อยอด สอนนอกกรอบ : ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงภายใน การจัดอบรมครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ – ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน ๒๒ คน โดยในครั้งนี้นำพาให้ผู้เข้าร่วมเข้าไปสู่จิตวิญญาณความเป็นครู ด้วยกระบวนการคัดเลือกข้อความจาก “หนังสือกล้าที่จะสอน” ของ Parker J. Palmer ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในอเมริกา ใช้การพัฒนาทางจิตวิญญาณ จากเดิมที่เป็นแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้มิติของหัวใจและความเป็นมนุษย์ขาดหายใจ เขาหาวิธีในการบูรณาการหัวใจเข้าไป เป็นวิธีการพัฒนาตนเองแต่ Parker เขียนให้สามารถปรับใช้ในด้านการศึกษา โดยให้ผู้เข้าอบรมเดินสำรวจอ่านข้อความต่าง ๆ ที่อยู่ตรงกลาง ถ้ารู้สึกว่าข้อความไหนเราต้องการก็หยิบมาไว้กับตัวเอง และให้ผู้เข้าร่วมเปิดอ่านข้อความที่ได้รับอย่างเปิดใจให้ข้อความไหลเข้ามาสู่ตัวเอง ตัวอย่างข้อความ ได้แก่ ภูมิทัศน์ด้านใน, สติปัญญา อารมณ์ จิตวิญญาณ, ครูที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการ, ความกลัวในหัวใจครู, หัวใจของการศึกษา, ชุมชนแห่งความจริงแท้ เป็นต้น จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมเปรียบเทียบห้องเรียน ๒ แบบแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการเรียนรู้เปลี่ยนไป รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ความเป็นกระบวนกรหรือ Facilitator เริ่มเกิดขึ้น ต้องการให้เห็นภาพ ๒ แบบ ครูที่ยืนหน้าห้องให้ความรู้ก็จะเป็น Lecturer ส่วนคำว่า Facilitator หมายถึง บุคคลที่ช่วยจัดการอำนวยความสะดวกในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วมมากที่สุด เริ่มมาจากวงการธุรกิจมาก่อน และเริ่มแพร่หลายไปในวงการอื่น ๆ ต่อมามีการแนะนำอบรมก็เกิด Training Facilitator และพอเข้าไปในแวดวงการศึกษาก็เป็น Education Facilitator ถ้า Lecturer สอนแบบ Passive Learning ในขณะเดียวกันสามารถเป็น Facilitator ได้โดยสอนแบบ Active Learning จากนั้นชมตัวอย่างในการนำแนวทางจิตตปัญญาไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของผู้ที่ผ่านการอบรมมาก่อนหน้าในกลุ่มอาชีวศึกษา และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เพื่อนำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบชั้นเรียนของตนเอง โดยในวันที่สองของการอบรม มีการให้วางแผนงาน/กิจกรรมในการนำจิตตปัญญาศึกษาไปใช้เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งความสุข และนำเสนอแผนงาน เช่น กิจกรรม สามัญสัมพันธ์ ในรายวิชา การวิจัยเบื้องต้น และวิชาคณิตศาสตร์, รายวิชา เขียนแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์, รายวิชา ความเค้น ความเครียด (ความแข็งแรงวัสดุ), รายวิชา การขายเบื้องต้น ฯลฯ
 
Back To Top