แนวทางการขับเคลื่อนจิตตปัญญาในสถานศึกษาสังกัด สอศ. โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข

  • 23 ธันวาคม 2566
ณ ศูนย์อบรมและปฏิบัติธรรมศิริราช อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม วันที่ 23-24 ธันวาคม พ.ศ.2566

 

โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข : เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา”
แนวทางการขับเคลื่อนจิตตปัญญาในสถานศึกษาสังกัด สอศ.
โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข
ณ ศูนย์อบรมและปฏิบัติธรรมศิริราช อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
วันที่ 23-24 ธันวาคม พ.ศ.2566
 
 
จำนวนผู้เข้าร่วม 17 คน
 
กระบวนกร :
1.อ.ดร.ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย
2. คุณรัชนี วิศิษฎ์วโรดม
 
ตัวอย่างเสียงสะท้อนของผู้เข้าร่วม
 
-มีความยินที่จะร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อให้กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป
-เป็นศิษย์รุ่นแรก อยากเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เป็นครูสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่รู้จักจิตตปัญญาได้ 2-3 ปี ความทุกข์ไม่ได้จับไว้เหมือนเมื่อก่อน เวลาผ่านเร็วมีความสุขมาก มองอะไร Mind set ก็เปลี่ยนไป ห้องเรียนก็จะดึงจิตตปัญญามาใช้ ทุ่มเทอยู่กับห้องเรียน วันนี้หวังว่าจะได้ประสบการณ์แลกเปลี่ยนกัน
-ใช้จิตตปัญญาเข้ามาใช้ในการสอน และใช้ในการดำเนินชีวิต ทำงานได้มีความสุขมากยิ่งขึ้น ใช้ที่เทคนิคปัว ทุกคนมีความสุข ไม่แตกแยก ทุกคนเดินไปพร้อมๆกัน คิดว่าจิตตปัญญาที่นำไปใช้เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ ตอนนี้อยู่ที่น่าน วันนี้มาเพื่อที่จะนำจิตตปัญญาความรู้ไปต่อยอดเพิ่ม
-เข้าร่วมเพื่อนำเทคนิคต่างๆไปใช้ต่อในห้องเรียน
-จิตตปัญญาที่เราเริ่มทำที่ศรีสำโรง ทำให้เกิดจิตสำนึกต่างๆ ขึ้นมากมายที่ตัวบุคคลทำให้เกิดความรัก ความทุ่มเทในการทำการสอน เมื่อสายบริหารเปลี่ยนก็เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีความเชื่อมั่นว่า จิตตปัญญาสามารถนำมาใช้ได้จริงๆ ที่ศรีสำโรงเหมือนเป็นฐานที่มั่น เป็นต้นแบบในการทำกระบวนการแบบนี้ที่มีการอบรมและปลูกฝั่งไว้ เชื่อว่า จะมากจะน้อยที่แต่ละคนจะรับไว้ก็จะเป็นประโยชน์กับการสอนและตัวเอง มีโครงการต่างๆที่พยายามทำให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเราจะเป็นกะทิน้ำสุดท้าย วันนี้จะมาแชร์และมารับฟัง เป็นโอกาสที่ดีมากๆที่แบ่งปันและเกื้อกูลสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่กันได้มากขึ้น องค์ความรู้วันนี้ก็จะเป็นการแบ่งปันความรู้ในเครือข่ายอาชีวะ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวันข้างหน้า เพื่อเป็นการจุดประกายให้กับทุกๆคน หากเราใช้ดัชนีความสุขมาวัดเราจะพบว่า ความสุขของโลกภายในของเราจะดีขึ้นมาก เราจะช่วยกันอย่างไรในการขับเคลื่อน การแชร์ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน
 
 
Back To Top