โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข การดูแลนักศึกษาพยาบาลให้มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

  • 15 มกราคม 2567
โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์พิเศษและอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ

 

โครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข : เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา”
โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข
การดูแลนักศึกษาพยาบาลให้มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2567
 
 
กระบวนกร :
1.อาจารย์ดร.ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย
2.คุณรัชนี วิศิษฎ์วโรดม
 
      โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์พิเศษและอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพด้านการสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง และกล่าวต้อนรับกระบวนกรโครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข การดูแลนักศึกษาพยาบาลให้มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
 
      สิ่งที่เราทำการศึกษา คือ การศึกษาตัวเราและใจของเรา เราจะได้เห็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ผ่านกิจกรรม เป็นการเรียนรู้แบบ Active learning การเรียนรู้แบบนี้เราจะต้องมีการลงเล่นเหมือนกิจกรรมนั้นเป็นสถานการณ์จริง เมื่อมีการเรียนรู้ ภายในกลุ่มจะมีการแบ่งปันความรู้สึก ถอดบทเรียน แบ่งปันการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งที่เราแบ่งปันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น อยากให้อาจารย์ร่วมกันแบ่งปัน สิ่งที่เราได้เรียนรู้ แบ่งปันให้กับเพื่อน จะทำให้การเรียนรู้ของวงขยายขึ้น เคล็ดลับคือ การเข้ามาลงเล่นกับสถานการณ์เหมือนเป็นสถานการณ์จริง เมื่อเรารู้จักตัวเรามากขึ้น จะทำให้เราเห็นจุดที่เราสามารถจะพัฒนาตนเองได้ จะทำให้เกิดการเข้าใจตนเอง เข้าใจนักศึกษา จึงมีความสำคัญมากที่เรามาจัดกระบวนการให้กับคุณครูพี่เลี้ยงของวิทยาลัยพยาบาล ปัญญา 3 ฐาน คือ ฐานสมอง(คิด) ฐานใจ(ใช้ใจในการเรียนรู้) ฐานกาย(เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมีปฏิบัติ) ทั้ง 3 ฐานจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันได้กับทั้งตนเองและคนรอบข้าง เพื่อเป็นการบ่มเพาะให้ครูพี่เลี้ยงสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่นักศึกษาได้ การเห็นความพันธ์เชื่อมโยงถึงคนเอง คนรอบข้าง และสังคมรอบข้าง กิจกรรมต่อไปจะเป็นรูปแบบที่ทำให้เราเรียนรู้หลายๆด้านทั้งโลกด้านในและโลกด้านนอกของเรา
 
Back To Top