การลงพื้นที่สังเกตการณ์กิจกรรมจิตศึกษาและกิจกรรม PLC

  • 01 เมษายน 2567

 

การลงพื้นที่สังเกตการณ์กิจกรรมจิตศึกษาและกิจกรรม PLC
เพื่อติดตามและกระตุ้นหนุนเสริมการประยุกต์ใช้จิตศึกษาและนิทานในโรงเรียนสามแยกเจ้าพระยา (ครั้งที่ 2)
ในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567
ณ โรงเรียนสามแยกเจ้าพระยา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลย่านมัทรี
 
 
        โดยสรุปของการทำ PLC ครูโรงเรียนสามแยกเจ้าพระยาประยุกต์ใช้กระบวนการจิตศึกษาร่วมกับการใช้นิทานในชั้นเรียนอย่างจริงจังนับตั้งแต่กลางเดือนมกราคม (หลังการติดตามครั้งที่ 1) เรื่อยมา ครูบางส่วนสะท้อนว่า
 
“จากเดิมที่เคยคิดว่าเด็กเราเป็นเด็กที่ไม่เหมือนเด็กที่อื่น เป็นลูกชาวบ้าน ครอบครัวส่วนใหญ่มีฐานะเศรษฐกิจไม่ดี ไม่น่าจะสามารถทำกระบวนการจิตศึกษาได้ แต่พอเริ่มทำแล้ว พบว่าเด็กเราก็อยู่กับกระบวนการได้ นิ่งได้ ฟังเป็น กล้าแสดงออก อดทนรอคอยได้ รู้สึกว่าตนเองก็ทำได้ ถึงเราจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แต่เราสามารถบ่มเพาะเด็กให้เป็นมนุษย์ที่เห็นอกเห็นใจคน ฟังเป็น มีวินัย ให้เกียรติเพื่อนพี่น้องและครูได้”
 
 
“รู้สึกดีใจที่พวกเราทำได้ และเด็กก็ตอบรับดี แรก ๆ ไม่เชื่อว่าจะทำได้ เพราะเด็กเราซนและดื้อ ดีใจและอยากทำต่อไปเรื่อย ๆ อยากให้ทีมมหาวิทยาลัยมหิดลช่วยส่งเสริมเราต่อไป”
.
“นิทานที่ได้มาเป็นประโยชน์มากกับโรงเรียน เพราะที่โรงเรียนมีนิทานน้อยมาก พอได้นิทานมา ครูได้ใช้ในห้องเรียน และได้ใช้ในกระบวนการจิตศึกษา มีเด็กและผู้ปกครองที่เขาชอบอ่านนิทานขอยืมไปและอ่านกันที่บ้าน ยืมคืนได้หลายเล่มแล้ว อันนี้ดีเลยเด็กและผู้ปกครองได้อยู่ด้วยกันในช่วงที่อ่านนิทาน”
.
“ตอนนี้ที่ทำกระบวนการอยู่ ก็คิดว่าตนเองต้องพัฒนาเรื่องของการตั้งคำถามขั้นเชื่อม เพื่อให้เด็กเขาได้ประโยชน์จากคำถามที่ถามจริง ๆ ช่วงแรก ๆ ที่ทำกระบวนการก็มีตื่นเต้นไม่ค่อยมั่นใจ ก็เรียนรู้และพัฒนามาเรื่อย ๆ”
 
ในกลุ่มของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลย่านมัทรีบางส่วนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า
“ปลื้มใจมาก ที่เห็นเด็กย่านมัทรีเราทำได้แบบนี้ นิ่ง ฟัง รอได้”
 
“ในส่วนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคงต้องขอความช่วยเหลือจากทางโรงเรียนให้ช่วยแนะนำหรือหาแนวทางช่วย เพราะเด็กเล็กไม่ค่อยนิ่ง ทำกระบวนการได้ไม่นานก็หลุด”
 
“มีความสุขที่เห็นเด็ก ๆ นิ่งเป็น ฟังเป็น รอได้ และกล้าแสดงออกในทางที่เหมาะสม”
 
Back To Top