ศิลปะการใช้ชีวิตด้วยความใจดี: บทเรียนจากละครเรื่อง “มาตาลดา”

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.ชรรินชร เสถียร

  • 01 มกราคม 2566

 

บทความประจำปี : 2566


ชื่อบทความ : ศิลปะการใช้ชีวิตด้วยความใจดี: บทเรียนจากละครเรื่อง “มาตาลดา”

 
ชื่อวารสาร : 

 

Received : 

 

ผู้เขียน : ดร.ชรรินชร เสถียร


นักวิจัยร่วม : 


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย


อ้างอิง :

 


บทคัดย่อ


          บทความวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องความใจดีจากการใช้ชีวิตของตัวละครในเรื่อง “มาตาลดา” โดยมีคําถามงานวิจัยว่า ความใจดีของตัวละคร “มาตาลดา” ในละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร และความใจดีนั้นถูกแสดงออกผ่านการใช้ชีวิตของตัวละครนี้อย่างไรผู้วิจัยศึกษาเนื้อหาของละครเรื่องมาตาลดาตอนที่ 1-15 เพื่อเปรียบเทียบกับการทบทวนวรรณกรรมและการสังเคราะห์ความหมายของความใจดีจากมุมมอง 4 ด้าน ได้แก่ มุมมองทางจิตวิทยา มุมมองทางวิทยาศาสตร์สมอง มุมมองทางพุทธศาสนา และกรอบแนวคิดการพัฒนาด้านใน(Inner Development Goal) ของสหประชาชาติข้อสรุปจากงานวิจัยนี้ พบว่า ความใจดีของมาตาลดาแสดงออกผ่านคุณสมบัติสําคัญ 4ประการ ได้แก่ 1) ความสามารถในการกลับสู่พื้นที่สงบในใจ 2) ความเข้าใจและความกรุณา 3) ความพร้อมเผชิญปัญหา และ 4) การรับรู้ถึงคุณค่าในตัวเอง


คําสําคัญ : มาตาลดา ความใจดีศิลปะการใช้ชีวิต การพัฒนาด้านใน

Back To Top