การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู ด้วยแนวคิดการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.อริสา สุมามาลย์

  • 01 มกราคม 2564

 

บทความประจำปี : 2564


ชื่อบทความ : การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู ด้วยแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน

 


ชื่อวารสาร : วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 

 

 

Received : ปีที่ 13 ฉบับที่ 37 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2564

 

ผู้เขียน : ดร.อริสา สุมามาลย์,  ดร.ชรรินชร เสถียร


นักวิจัยร่วม : 


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย

 

ลิงค์ : https://jci.snru.ac.th


อ้างอิง :

 


บทคัดย่อ


          งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู ด้วยแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน โดยมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน (Plan)2) ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Act & Observe) และ 3) ขั้นสะท้อนผล (Reflect) รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน2563 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากโรงเรียนในพื้นที่อำเภอตะพานหินหรืออ าเภอใกล้เคียง จังหวัดพิจิตร ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จ านวน 10 คน ซึ่งเป็นครูที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการหยั่งรากจิตตปัญญาศึกษาสู่สังคมแห่งความสุขปีที่ 4 โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนาม แบบสังเกตการณ์การสอน แบบบันทึกการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน แบบประเมินตนเอง และประเด็นในการสัมภาษณ์กลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และค่าเฉลี่ยผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครูด้วยแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนา
จิตวิญญาณความเป็นครูและการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน และใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 15 สัปดาห์ มีขั้นตอน ได้แก่1) การเตรียมความพร้อมของครู 2) การเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู 3) การเพิ่มทักษะและความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน 4) การวางแผนพัฒนาการเรียนการสอน 5) การติดตามผลการน าไปใช้ และ 6) การสรุปบทเรียนการด าเนินงาน ทั้งนี้พบว่าครูได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงภายในใจ ได้แก่ การรู้และใช้ธรรมชาติของตัวเองในการสอน การมีสติรู้ตัว การใส่ใจนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อันส่งผลต่อท่าทีในการสอนและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ปลอดภัย


คำสำคัญ : การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรครู การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

Back To Top