การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตต ปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความ ซื่อตรง

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี

  • 01 มกราคม 2555

 

 โครงการวิจัยประจำปี : 2555

 

ชื่อโครงการวิจัย :  การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตต ปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความ ซื่อตรง

 


หัวหน้าโครงการ : ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี

 

นักวิจัยร่วม :  นางสาวกาญจนา ภูครองนาค

 

ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย


ปีงบประมาณ : 2555


แหล่งเงินทุน : มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ทุนภายนอก : ทุนมุ่ง เป้าหมาย

 

การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษา
เพื่อการบ่มเพาะความ ซื่อตรง

     

         จากสมมติฐานที่ว่า การเรียนรู้ตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในตัวผู้เรียน และนำไปสู่การบ่มเพาะคุณลักษณะเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างถาวรยั่งยืนนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการสืบค้นหลักฐานเชิงวิชาการที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนสมมติฐานดังกล่าว อีกทั้งเพื่อศึกษาลักษณะของแนวคิดและวิธีการของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาซึ่งสามารถบ่มเพาะความซื่อตรง (Integrity) ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและยั่งยืนได้จริงด้วยการกลับเข้าไปทำงานกับธรรมชาติด้านในถึงระดับชุดความเชื่อพื้นฐาน หรือกรอบการอ้างอิง โดยเปลี่ยนวิธีการรู้คิด รื้อถอนชุดความเชื่อเดิม เกิดการขยับขยายกรอบการอ้างอิงให้กว้างใหญ่และครอบคลุมความจริงที่มากขึ้นกว่าเดิม อีกนัยหนึ่งคือการยกระดับจิตสำนึกของผู้เรียนรู้ให้สูงขึ้นและซับซ้อนขึ้นนั่นเอง ในที่สุดจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนท่าที ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม เกิดเป็นวิถีชีวิตอย่างใหม่ที่จริงแท้ พึงประสงค์มากขึ้น และไม่ย้อนกลับ ส่วนวิธีการ / กระบวนการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความซื่อตรงตามแนวคิดนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 3 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่ (1) วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในตัวผู้เรียนเอง เช่น การใคร่ครวญในตนเอง การคิดเชิงวิพากษ์ การเจริญสติภาวนา และการทดลองลงมือกระทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในตนเอง  (2) วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากครอบครัว โรงเรียน และคนรอบข้าง เช่น การสนทนาเชิงวิพากษ์ การทำสุนทรียสนทนา การมีสังฆะกัลยาณมิตร และการอบรมสั่งสอนและฝึกปฏิบัติด้านคุณธรรมศีลธรรม  และ (3) วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากสังคม วัฒนธรรม ประเทศชาติ (และโลก)  โดยทั้งหมดนี้ต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลเกื้อกูลกันและกัน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความหมายของความซื่อตรงที่ถูกรับรู้เข้าใจได้อย่างหลากหลาย อาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้ในลักษณะนี้แม้จะมีความเป็นอัตวิสัย แต่ก็สามารถประเมินและชี้วัดได้ ด้วยการสืบค้นเชิงปรากฏการณ์วิทยา อธิบายผ่านข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการเทียบเคียงกับโครงสร้างระดับจิตแห่งการประกอบสร้างความหมาย ตามระเบียบวิธีแบบโครงสร้างนิยม

 

Back To Top