โครงการหยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข ปีที่1

ดำเนินการเสร็จแล้ว

รศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

  • 01 มกราคม 2560

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2559

 

ชื่อโครงการวิจัย : โครงการหยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข ปีที่1


หัวหน้าโครงการ : รศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ


นักวิจัยร่วม : คณะทำงานโครงการ โครงการย่อยที่ 1 : ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล, รศ.นพ.จันทรชัย เจรียงประเสริฐ และ นายศักดิ์ชัย แซ่ลิ้ม โครงการย่อยที่ 2 : ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร, ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, ดร.สิรินันท์ นิลวรางกูร, นายยิ่งยอด หวังประโยชน์ และนางสาวมนทิพย์ กิจยิ่งโสภณ โครงการย่อยที่ 3 : ดร.ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย, ดร.หิมพรรณ รักแต่งาม, นางสาวรัชนี วิศิษฏ์วโรดม และนายกฤชกร วงษ์ศรีษะ เลขานุการและผู้ประสานงานโครงการ : นางสาวลักษณาวดี จตุรภัทร์ และนางสาวสรชา กมลโสภณวศิน


ประเภทของโครงการ : โครงการบริการวิชาการ


ปีงบประมาณ : 2559


แหล่งเงินทุน : 

 

ทุนภายนอก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

   

          โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข ปีที่ 1  มุ่งขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนามิติ          สุขภาวะทางปัญญาและจิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่คณะและสถาบันต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล              วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตบางกอกน้อย วิทยาเขตพญาไท และวิทยาเขตกาญจนบุรี ตามยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการมีสติตื่นรู้ (Mindful University) และพื้นที่หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นต้นแบบของ Mindfulness ในการดำเนินการเพื่อสังคมแห่งความสุข จำนวน 1 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อหยั่งรากจิตตปัญญา/สุขภาวะทางปัญญาและความสุขมวลรวมตามแนวทางการพัฒนามิติสุขภาวะทางปัญญาและจิตตปัญญาศึกษา ให้เป็นบุคลากรต้นแบบ ในการนำแนวคิดด้าน จิตตปัญญา ความสุขมวลรวมมาปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง อันเป็นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของบุคลากร  และ 2) เพื่อให้เกิดหน่วยงานต้นแบบระดับคณะ/สถาบัน/วิทยาลัย/กอง เรื่องการตื่นรู้ (Mindfulness) เกิดความตื่นรู้ทางปัญญา (Spiritual Literacy) ของคนในองค์กร อันทำให้เกิดวิถีแห่งสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health Pathway) เพื่อให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน การดำเนินโครงการประกอบด้วย การจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้ชื่อกิจกรรมสุขสัญจรและการอบรมเชิงปฏิบัติการ Strengthening Mahidol Core Value with Mindfulness “ก่อร่าง (นัก) สร้างสุข” ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา พญาไท และบางกอกน้อย  การจัดกระบวนการเรียนรู้ Wellbeing in Organisation ทั้งสำหรับเพื่อการเป็นนักขับเคลื่อนกระบวนการและสำหรับบุคคลทั่วไป ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และการจัดกระบวนการเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อให้เป็นองค์กรต้นแบบในเรื่องของ Mindful Organisation for Happiness of All นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดงานมหิดลเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ 1

      ผลของการดำเนินโครงการชี้ให้เห็นว่า เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านทัศนคติโดยผู้เข้าร่วมเกิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับความสุขที่ว่า ความสุขนั้นสามารถสร้างได้จากภายในของตนเอง อีกทั้งเกิดทัศนคติที่ดีและการเห็นประโยชน์ของการฝึกสติและกิจกรรมการสร้างสุขภาวะทางปัญญาแผ่ออกไปในวงกว้างทั่วทั้งมหาวิทยาลัยและองค์กรภายนอก 1 แห่ง  ด้านทักษะโดยผู้เข้าร่วมสามารถเจริญสติเบื้องต้นภายในตนเองและมีการตระหนักรู้เท่าทันทั้งในตนเองและผู้อื่น สามารถสื่อสารด้วยหัวใจและรับฟังอย่างลึกซึ้ง  อีกทั้งมีทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษาอย่างง่าย ๆ ด้านความสัมพันธ์โดยผู้เข้าร่วมเริ่มสร้างพื้นที่ปลอดภัยระหว่างกัน นำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งกับคนรอบตัว  และด้านการขับเคลื่อนองค์กรโดยผู้เข้าร่วมเริ่มนำกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปใช้กับคนในครอบครัวและที่ทำงานเพื่อแผ่ขยายวัฒนธรรมแห่งการมีสุขภาวะทางปัญญา และบางส่วนได้นำไปพัฒนาเข้าสู่วิสัยทัศน์และพันธกิจเพื่อการบริหารและขับเคลื่อนองค์กรของตนเองต่อไป การดำเนินโครงการในปีต่อไปจึงมุ่งที่จะลงลึกในการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลอย่างต่อเนื่อง การขยายผลสู่ระดับบริหารขององค์กร รวมถึงการส่งต่อการเรียนรู้ไปสู่หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
 
คำสำคัญ : จิตตปัญญา ความสุขมวลรวม สุขภาวะทางปัญญา มหาวิทยาลัยแห่งการมีสติตื่นรู้
 
Back To Top