โครงการวิจัยการสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

  • 01 มกราคม 2561

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2561

 

ชื่อโครงการวิจัย : โครงการวิจัยการสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ


หัวหน้าโครงการ : ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล


นักวิจัยร่วม : 


ประเภทของโครงการ : โครงการบริการวิชาการ


ปีงบประมาณ : 2561


แหล่งเงินทุน : 

 

งบประมาณ แผ่นดิน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

           โครงการวิจัยการสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ  1.เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาที่เอื้อต่อการสร้างความสุขในระดับองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ผ่านระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ 2.เพื่อศึกษาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านความสุขของผู้เข้าร่วมที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาผ่านวิธีการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยาโดยทำการสัมภาษณ์และสนทนากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 คน ควบคู่การใช้แบบสำรวจความสุขด้วยตนเองและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมโดยนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาทั้ง 2 ส่วนมาทำวิเคราะห์และจัดทำบทสรุป ผลของการวิจัยพบปัจจัย 6 ข้อที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาที่เอื้อต่อการสร้างความสุขในระดับองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล คือบุคลิกภาพและความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษาของกระบวนกร ความสัมพันธ์ใกล้ชิด การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล การหยิกยกประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่ผู้เข้าร่วมประสบมาใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้และการอาศัยผู้เข้าร่วมที่มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย รวมถึง 4 คุณสมบัติที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความสุขของผู้เข้าร่วมที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาคือ การตระหนักรู้ในตนเอง การเปิดใจและการรับฟังอย่างลึกซึ้ง การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งภายในใจและกรอบโลกทัศน์ความเชื่อและการยอมรับสภาวะความเป็นจริงของตนเองจนนำไปสู่การเกิดมุมมองใหม่ ซึ่งผลลัพธ์เชิงสถิติในแบบสำรวจความสุขด้วยตนเองเพิ่มขึ้นทุกมิติ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ การถอดบทเรียนการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องอำนาจภายใต้กรอบแนวคิดการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาตามแนวทางที่โครงการได้วางไว้

 

คำสำคัญ :   ความสุข กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

 

 

Back To Top