การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี

  • 02 มกราคม 2560

บทความประจำปี : 2560


ชื่อบทความ : การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง


ชื่อวารสาร : วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ผู้เขียน : ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี

 

นักวิจัยร่วม : กาญจนา ภูครองนาค


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย


Link :  https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/242255


อ้างอิง สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และกาญจนา ภูครองนาค. (๒๕๖๐). การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ๑๘ (๒), ๒๒๕-๒๔๒.


ดาวน์โหลดบทความวิจัย : ดาวน์โหลด

 


การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง

บทคัดย่อ


          งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะของแนวคิดและวิธีการของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาซึ่งสามารถบ่มเพาะความซื่อตรง (Integrity) ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน โดยอาศัยการวิจัยเอกสารเป็นระเบียบวิธีวิจัยหลัก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและยั่งยืนได้จริงด้วยการกลับเข้าไปทำงานกับธรรมชาติด้านในถึงระดับชุดความเชื่อพื้นฐาน หรือกรอบการอ้างอิง โดยเปลี่ยนวิธีการรู้คิด รื้อถอนชุดความเชื่อเดิม เกิดการขยับขยายกรอบการอ้างอิงให้กว้างใหญ่และครอบคลุมความจริงที่มากขึ้นกว่าเดิม ในที่สุดจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนท่าที ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม เกิดเป็นวิถีชีวิตอย่างใหม่ที่จริงแท้ พึงประสงค์มากขึ้น และไม่ย้อนกลับ ส่วนวิธีการ / กระบวนการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความซื่อตรงตามแนวคิดนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 3 แนวทางหลักๆ ได้แก่


1.วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในตัวผู้เรียนเอง
2.วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากครอบครัว โรงเรียน และคนรอบข้าง
3.วิธีการ / กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากสังคม วัฒนธรรม ประเทศชาติ และโลก
โดยทั้งหมดนี้ต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลเกื้อกูลกันและกัน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความหมายของความซื่อตรงที่ถูกรับรู้เข้าใจได้อย่างหลากหลาย

 

คำสำคัญ : จิตตปัญญาศึกษา กรอบการอ้างอิง ความซื่อตรง การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

 

 
Back To Top