กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี

  • 01 มกราคม 2563

 

บทความประจำปี : 2563


ชื่อบทความ : กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง


ชื่อวารสาร : วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

 

ผู้เขียน : ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี


นักวิจัยร่วม : ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ, กัญจน์ ทัตติยกุล


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย


อ้างอิง : สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ, และกัญจน์ ทัตติยกุล. (๒๕๖๓). กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ๒๘ (๒), ๒๖๕-๒๙๔.

 


บทคัดย่อ


     บนความเชื่อพื้นฐานที่มุ่งความสำคัญไปที่คนและกระบวนการเรียนรู้ของคนเป็นอันดับแรก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาที่มีความเหมาะสมสำหรับการบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง รวมถึงศึกษาศักยภาพของผู้ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ การสนทนากลุ่ม การจดบันทึก การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการที่เหมาะสมคือกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและผ่านประสบการณ์ตรงที่ต้องประกอบด้วยความสมดุลระหว่างมิติภายในกับมิติภายนอก โดยอาศัยคุณค่า ความหมาย และเจตจำนงของผู้เรียนรู้เป็นตัวนำ ส่วนศักยภาพสำคัญที่พบในตัวผู้เข้าร่วมได้แก่ การตระหนักอย่างลึกซึ้งในรากเหง้าของชุมชน การเกิดพลังกลุ่ม และการมีพลังและความเชื่อมั่นในหนทางการสร้างความเข้มแข็งที่ใช้คุณค่าภายในเป็นตัวนำ ขณะที่ผลผลิตหลักของโครงการคือ พื้นที่ทางวัฒนธรรม 22 จุด และแผนที่ทางวัฒนธรรม 3 เส้นทาง


คำสำคัญ : บางปะกง, นิเวศวัฒนธรรม, ชุมชน, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

 

Back To Top