นิเวศจิตตปัญญา : ประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในจากธรรมชาติ

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย

  • 01 มกราคม 2563

 

บทความประจำปี : 2563

 

ชื่อบทความ : นิเวศจิตตปัญญา : ประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในจากธรรมชาติ

 

ชื่อวารสาร :

 

ผู้เขียน : ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย

 

ประเภทของบทความ : บทความวิจัย

 

Link :

 

อ้างอิง : 

ประมวล เพ็งจันทร์, (2560). เดินสู่อิสรภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ ๖). กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

ประเวศ วะสี, (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน.(พิมพ์ครั้งที่ ๒). นครปฐม : ศูนย์

     จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวศ วะสี, (2550). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑.(พิมพ์ครั้งที่๔). นครปฐม : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

     มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหาบัว ญาณสัมปันโน. (2552). ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ.

     (พิมพ์ครั้งที่ 3). อุดรธานี : วัดป่าบ้านตาด.

พุทธทาสภิกขุ. (2538). อานาปานสติภาวนา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ. ปยุตโต. (2561). รู้แค่เล่มนี้ ก็พอที่จะพูดว่า รู้จักพระพุทธศาสนา. นครปฐม :

     วัดญาณเวศกวัน

โอโช. (2561). ปัญญาญาณ : การรู้ที่อยู่ นอกเหตุ-เหนือผล (Intuition : Knowing Beyond Logic) (พิมพ์ครั้ง

     ที่ 11). กรุงเทพมหานคร : ฟรีมายด์ พับลิซซิ่ง.

 


บทคัดย่อ


     นิเวศจิตตปัญญาคือกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตใจด้วยกิจกรรมในธรรมชาติ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาจิตใจมนุษย์ ปรากฏร่องรอยในทุกศาสนาในบรรพกาล กระบวนการเรียนรู้นิเวศจิตตปัญญาครั้งนี้ เป็นหลักสูตรสร้างการเรียนรู้ที่ได้พัฒนามากว่า 4 ปี ดัดแปลงมาจากกิจกรรมทางธรรมชาติที่ได้การยอมรับในระดับโลกจากตะวันตก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในตามแนวทางของจิตตปัญญาศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้นิเวศจิตตปัญญาของกลุ่มนักศึกษาจิตตปัญญา ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่น 9 ผ่านระเบียบวิธีวิจัยกึ่งปรากฏการณ์วิทยา ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ร่วมภายในที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย 10 คน ประกอบด้วย 1) ปลุกประสาทสัมผัสอย่างลึกซึ้ง 2) เชื่อมโยงกับธรรมชาติ 3) ค้นพบความหมายใหม่ของธรรมชาติ 4) เกิดความสัมพันธ์ใหม่กับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง 5) ค้นพบคำตอบหรือญาณทัศนะ 6) ฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจ จากการวิเคราะห์ พบว่าประสบการณ์การเชื่อมโยงกับธรรมชาติแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ เปิดใจ จุ่มแช่ เชื่อมโยง หยั่งรู้ และเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ภายในที่เกิดขึ้นในผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มนี้เป็นที่น่าพอใจอย่างสูง เหมาะสมกับการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนามิติภายในของมนุษย์

 

คำสำคัญ :จิตตปัญญาศึกษา นิเวศจิตตปัญญา เรียนรู้เชิงจิตวิญญาณจากธรรมชาติ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ

 

Back To Top