รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาโท 2022/03/01

ภาคผนวก ก คำอธิบายรายวิชา

 

(๑)   หมวดวิชาบังคับ

         หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๐๐  ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต  ๓ (๒-๓-๔)

       ความจริงของชีวิตตามทฤษฎีทางศาสนาและจิตวิญญาณ หลักพุทธธรรม กระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา จิตตปัญญาศึกษาสู่ชีวิตประจำวัน

 

จศจศ   ๕๐๑  ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๑   ๓ (๒-๓-๔)

       แนวคิดและแนวปฎิบัติในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา พลังกลุ่ม การสื่อสารอย่างสันติ สุนทรียสนทนา หลักจิตตปัญญาศึกษา ๗ ทักษะกระบวนกร การเปิดพื้นที่ของความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตากรุณา กระบวนการจิตตปัญญาสำหรับบุคคลภายนอกและสาธารณะ กระบวนการบ่มเพาะความซื่อตรงและทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

 

จศจศ   ๕๐๓  จิตวิญญาณเพื่อสังคม ๓ (๒-๓-๔)

       ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณและสังคม ภาวะผู้นำที่มีรากฐานจากการพัฒนามิติด้านในจากการศึกษาแนวคิดทางสังคมและการพัฒนาสังคมจากปราชญ์ตะวันออก และองค์กรต้นแบบต่างๆ บูรณาการทฤษฎีทางสังคมตะวันตก การบ่มเพาะวิถีชีวิตที่สมดุลกับตนเอง เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น  สังคม ตลอดจนธรรมชาติ

 

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๑๑  ภูมิปัญญาบรรพกาลและจิตวิญญาณร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖)

       รากฐานของแนวความคิดของมนุษย์ ภูมิปัญญาบรรพกาล ความเชื่อ ศาสนา แก่น และที่มาของแนวความคิดเหล่านี้ พัฒนาการของภูมิปัญญาบรรพกาล ในโลกยุคปัจจุบัน แนวคิดจิตวิญญาณร่วมสมัยและวิทยาศาสตร์ใหม่

 

จศจศ   ๕๒๐  วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๑   ๓ (๒-๓-๔)

       ความจริง ๓ ทัศน์ ภววิทยา ญาณวิทยา วิธีวิทยา การสร้างองค์ความรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษา ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการออกแบบและพัฒนาโครงร่างงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรมแบบเจาะลึก การสร้างโจทย์วิจัย การกำหนดขอบเขตการวิจัย การพัฒนากรอบแนวคิด การอ่านบทความวิชาการ การทำบรรณานิทัศน์ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายและการตีความข้อมูล การสรุปความ การอ้างอิง การเขียนบรรณานุกรม จริยธรรมการวิจัยและการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่วิถีชีวิต

 

จศจศ   ๕๒๔  สัมมนาทางจิตตปัญญาศึกษา ๓ (๓-๐-๖)

       แนวคิด และแนวปฏิบัติของการนำจิตตปัญญาศึกษาไปประยุกต์ในบริบท การเรียนรู้และการวิจัยแบบองค์รวม วิทยากรกระบวนการ การเยียวยารักษาจิตใจ นิเวศวัฒนธรรมกับชุมชน การวิจัยเรื่องจิต การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล องค์กร ชุมชน สังคม และศิลปะเพื่อการเปลี่ยนแปลง โครงการจิตตปัญญาศึกษาสู่การทำงานกับบริบท

 

(๒)   หมวดวิชาเลือก

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๐๒  ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๒ ๓ (๒-๓-๔)

       ทักษะขั้นสูงของการจัดกิจกรรมกลุ่ม การออกแบบ การร้อยเรียงกิจกรรม การตั้งคำถามเพื่อการสืบค้นเชิงลึก การถอดบทเรียนบนวิธีคิดต่าง ๆ การทำกระบวนการเวิร์ลคาเฟ่ การนำภาวนา การปฏิบัตินิเวศภาวนา การทำคู่ปรึกษา เพื่อนรับฟัง กระบวนการโปรเสซเวิร์ก กระบวนการเรียนรู้ระยะสั้น สำหรับชั้นเรียน ชุมชน และสาธารณะ

 

จศจศ   ๕๐๖  ภาวนา ๑  ๑ (๑-๐-๒)

       ความเข้าใจเรื่องการภาวนา แนวคิดและแนวปฏิบัติพื้นฐานของการภาวนา การปฏิบัติภาวนาในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติ การเฝ้าสังเกตตนเองทั้งกาย ใจอย่างใคร่ครวญ การน้อมนำคุณธรรม จริยธรรมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

 

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๐๗  ภาวนา ๒ ๑ (๑-๐-๒)

       การปฏิบัติภาวนาในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติ การเฝ้าสังเกตตนเองทั้งกายใจอย่างใคร่ครวญ การใช้กิจกรรมต่างๆ เป็นเครื่องมือแห่งการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและความรู้สึก การประยุกต์การปฏิบัติภาวนากับการฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การผสมผสานการปฏิบัติภาวนาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแนวจิตตปัญญาศึกษา การเชื่อมโยงผลการปฏิบัติภาวนากับการแก้ไขและจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันการน้อมนำคุณธรรม จริยธรรมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

 

จศจศ ๕๒๑ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๒  ๓ (๒-๓-๔)

       ระเบียบวิธีวิจัยประเภทต่าง ๆ  การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณา การวิจัยแบบอัตชาติพันธุ์วรรณา การสืบค้นแบบเล่าเรื่อง การสืบค้นแบบบุคคลที่หนึ่ง การวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาแนวเกอเธ่ การวิจัยแบบการตีความ การวิจัยภาคสนาม การดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ผ่านทุกอายตนะ การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่วิถีชีวิตและการฝึกปฏิบัติทางจิตวิญญาณการสร้างคุณค่าและความหมายที่แท้

 

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๒๒  ภาวนา ๓  ๑ (๑-๐-๒)

       บูรณาการการปฏิบัติภาวนาที่เข้ากับวิถีการเรียนรู้ในด้านกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ชีวิตและความตาย การภาวนาผ่านกระบวนการที่เน้นฐานกายการน้อมนำจริยธรรมและคุณธรรมสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน

 

จศจศ   ๕๒๓  ภาวนา ๔    ๓ (๑-๖-๒)

       การภาวนาเชิงลึกที่สอดคล้องกับจริตของตนเอง การบ่มเพาะคุณภาพการมีสติตระหนักรู้ให้เป็นเนื้อเป็นตัว และนำไปใช้ในชีวิตจริง 

 

จศจศ   ๕๒๕  การเรียนรู้และการศึกษาที่แท้   ๓ (๒-๓-๔)

       ความสำคัญของการศึกษา เป้าหมายที่แท้จริงของการจัดการศึกษา พัฒนาการของการเรียนรู้ของมนุษย์ แนวทางในการจัดการศึกษาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง แนวโน้มในการจัดการศึกษาของโลกเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่แท้ การประเมินผลเพื่อการพัฒนา การออกแบบหลักสูตรและความเชื่อมโยงของการศึกษากับมิติต่างๆ ในสังคม

 

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๒๖ สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง     ๓ (๓-๐-๖)

       สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ ชุมชน และสังคม สื่อสารศิลป์เพื่อการพัฒนามิติด้านใน ความสัมพันธ์เชื่อมโยงแห่งสรรพสิ่ง จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง  กระบวนทัศน์การสื่อสารกระแสหลักและรอง และการเรียนรู้จากกรณีต้นแบบ        

 

จศจศ   ๕๒๗ โครงการสื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง  ๓ (๒-๓-๔)

       การสร้างสรรค์ผลงานสื่อสารศิลป์ในหลากหลายแขนงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ ชุมชน และสังคม จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม และเทคโนโลยีเพื่องานสื่อ

 

จศจศ   ๕๒๘  แนวคิดของชีวิตและความตาย  ๓ (๓-๐-๖)

       แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตาย ที่มาของแนวคิดเหล่านี้ การศึกษาชีวิตใกล้ตาย ชีวิตหลังความตาย แนวคิดการตายที่ดีและการเตรียมตัวตายอย่างสงบ ในมิติด้านศาสนา ด้านชีววิทยา ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านจิตวิทยาและด้านจิตวิญญาณ

 

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ   ๕๒๙  จิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ  ๒ (๒-๓-๔)

       การสังเกตการตระหนักรู้ การคิดพิจารณาอย่างแยบคาย กระบวนการจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธความเข้าใจโลกและชีวิตที่ถูกต้องของผู้เยียวยารักษา กระบวนการเตรียมสภาวะจิตใจของผู้เยียวยารักษา กระบวนการสร้างความมั่นคงภายใน แนวคิดพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และการเยียวยาผู้สูญเสีย ปัญญาแห่งการฟัง ผู้เยียวยารักษาในฐานะกัลยาณมิตร หลักพรหมวิหาร ๔ กับชุมชนแห่งการปฏิบัติ

 

จศจศ ๕๓๐   ปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสังคม   ๓ (๑-๖-๒)

       การบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตร การดูแลทางจิตวิญญาณ การจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือการสร้างสรรค์สื่อการประยุกต์และปฏิบัติการจริงที่สอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของหน่วยงานหรือองค์กร

 

จศจศ ๕๓๑    จิตตศิลป์   (๑-๐-๒)

       ประสบการณ์ตรงและการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งผ่านงานศิลปะหลากหลายแขนง วรรณกรรม จิตรกรรม ดนตรี การถ่ายภาพ และภาพยนตร์ การพัฒนาความสัมพันธ์กับตนเอง ผู้อื่นกับสังคม ตลอดจนกับธรรมชาติ

 

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ ๕๓๒   นพลักษณ์และการเติบโตทางจิตวิญญาณ  (๑-๐-๒)

       การสืบค้นตัวตนผ่านกรอบนพลักษณ์ด้วยวิธีการแบบการเล่าเรื่อง รูปแบบของกิเลส ความคิดยึดติด จุดใส่ใจกับสิ่งหลีกเลี่ยง กลไกการป้องกันตัวเอง ภาวะของปีกและจุดมั่นคง จุดเครียด ลักษณ์ย่อย คุณธรรมและบารมีประจำลักษณ์ การสัมภาษณ์ลักษณ์ แผนปฏิบัติการส่วนบุคคลเพื่อการเติมโตและการเป็นอิสระจากลักษณ์ 

 

จศจศ ๕๓๓    งานวิจัยเรื่องเล่า ๑(๑-๐-๒)

       กระบวนทัศน์งานวิจัย ความหมายของเรื่องเล่าในงานวิจัย ประเภทของงานวิจัยเรื่องเล่า บทบาทของผู้เล่าเรื่ิอง ศึกษาตัวอย่างงานวิจัยเรื่ิองเล่า การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และฝึกเขียนงานวิจัยเรื่องเล่า จริยธรรมในงานวิจัยเรื่ิองเล่า

 

(๓) วิทยานิพนธ์         

จศจศ   ๖๙๘  วิทยานิพนธ์   ๑๒ (๐-๓๖-๐)

       การกำหนดหัวข้อโครงการวิจัยทางจิตตปัญญาศึกษา การดำเนินการการวิจัยที่มีจริยธรรม   การรวบรวม การวิเคราะห์ การแปลผลและอภิปรายผล การรายงานผลในรูปของวิทยานิพนธ์การเสนอและพิมพ์งานวิจัยในวารสารมาตรฐาน หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ จริยธรรมการนำเสนอผลงานวิจัย

 

(๔) สารนิพนธ์

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ  ๖๙๗    สารนิพนธ์  ๖ (๐-๑๘-๐)

       การกำหนดหัวข้อโครงการทางจิตตปัญญาศึกษา การดำเนินโครงการโดยใช้หลักจริยธรรมการเขียน และการนำเสนอรายงานโครงการ  จริยธรรมสำหรับการเขียนรายงานและการนำเสนอ

Back To Top