โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาโท 2022/03/01

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา

(หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๔

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Contemplative Education

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตตปัญญาศึกษา)
ชื่อย่อ : ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Arts (Contemplative Education)
ชื่อย่อ : M.A. (Contemplative Education)

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

จิตตปัญญาศึกษา วางอยู่บนกระบวนทัศน์แบบองค์รวม (Holistic paradigm) ตั้งต้นสืบค้นความเป็นจริงด้วยฐานปฏิบัติการภายในผ่านช่องทางการรับรู้ทั้งหก ได้แก่ ประสาทสัมผัสและจิตใจ บนท่าทีของการใคร่ครวญเปิดใจ สะท้อนความรู้สึก เปิดความเชื่อพื้นฐาน และร่วมสรรค์สร้าง โดยอาศัยพลังแห่งสติ การตระหนักรู้ และเท่าทันอคติภายใน ร่วมกับการสืบค้นความเป็นจริงแบบปฏิฐานนิยม (แบบวิทยาศาสตร์) การใช้หลักเหตุผล และการประกอบสร้างความหมายเชิงสังคม


จิตตปัญญาศึกษา มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและการฝึกปฏิบัติบนวิถีแห่งประสบการณ์ที่ว่าด้วย ตนเอง ผู้อื่น ชุมชน สังคม โลกและธรรมชาติ บนฐานของการมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและความเป็นองค์รวม มหาบัณฑิตจากหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษา จะเป็นผู้ที่เกิดจากการขยับขยายมุมมองพื้นฐานและโลกทัศน์ นำไปสู่การยกระดับของจิตสำนึกและสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในตนเองในชุมชน และในสังคมวงกว้าง อีกทั้งเข้าถึงศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในโลกบนการมีอิสรภาพที่แท้

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

หลักสูตรภาคปกติ จัดการเรียนการสอนในวันและเวลาราชการ
ภาคการศึกษาต้น เดือน สิงหาคม - ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือน มกราคม - พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน เดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม
หลักสูตรภาคพิเศษ จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ
ภาคการศึกษาต้น เดือน สิงหาคม - ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือน มกราคม - พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน เดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม

หัวข้อ โครงสร้างหลักสูตร

จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.๒๕๕๘ หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก๒ และ แผน ข ดังนี้

    แผน ก แบบ ก๒ แผน ข
(๑) หมวดวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต ๑๘ หน่วยกิต
(๒) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ๑๒ หน่วยกิต
(๓) วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต - หน่วยกิต
(๔) สารนิพนธ์ - หน่วยกิต ๖ หน่วยกิต
  รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต ๓๖ หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
(๑) หมวดวิชาบังคับ แผน ก แบบ ก๒ จำนวน ๑๘ หน่วยกิต
    แผน ข จำนวน ๑๘ หน่วยกิต

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

จศจศ ๕๐๐ ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต ๓ (๒-๓-๔)
CECE 500 The Nature of World and Life  
จศจศ ๕๐๑ ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๑ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 501 The Arts of Contemplative Facilitation I  
จศจศ ๕๐๓ จิตวิญญาณเพื่อสังคม ๓(๒-๓-๔)
CECE 503 Spirituality for Society  
จศจศ ๕๑๑ ภูมิปัญญาบรรพกาลและจิตวิญญาณร่วมสมัย ๓ (๓-๐-๖)
CECE 511 Ancient Wisdom and Contemporary Spirituality  
จศจศ ๕๒๐ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๑ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 520 Research Methodology I  
จศจศ ๕๒๔ สัมมนาทางจิตตปัญญาศึกษา ๓ (๓-๐-๖)
CECE 524 Seminar in Contemplative Education  
(๒) หมวดวิชาเลือก แผน ก แบบ ก๒ ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
    แผน ข ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
จศจศ ๕๐๒ ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา ๒ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 502 The Arts of Contemplative Facilitation II
จศจศ ๕๐๖ ภาวนา ๑ # ๑ (๑-๐-๒)
CECE 506 Bhavana I
จศจศ ๕๐๗ ภาวนา ๒ # ๑ (๑-๐-๒)
CECE 507 Bhavana II
จศจศ ๕๒๑ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๒ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 521 Research Methodology II
จศจศ ๕๒๒ ภาวนา ๓ # ๑ (๑-๐-๒)
CECE 522 Bhavana III
จศจศ ๕๒๓ ภาวนา ๔ # ๓ (๑-๖-๒)
CECE 523 Bhavana IV
จศจศ ๕๒๕ การเรียนรู้และการศึกษาที่แท้ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 525 Authentic Learning and Education
จศจศ ๕๒๖ สื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓ (๓-๐-๖)
CECE 526 Media Arts for Change
จศจศ ๕๒๗ โครงการสื่อสารศิลป์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓ (๒-๓-๔)
CECE 527 Media Arts Project for Change
จศจศ ๕๒๘ แนวคิดของชีวิตและความตาย ๓ (๓-๐-๖)
CECE 528 Concepts of Life and Death
จศจศ ๕๒๙ จิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ ๓ (๒-๓-๔)
CECE 529 Contemplative Psychotherapy and Healing
จศจศ ๕๓๐ ปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสังคม ๓ (๑-๖-๒)
CECE 530 Socially Engaged Practicum in Contemplative Education
* จศจศ ๕๓๑ จิตตศิลป์ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 531 Contemplative Arts
* จศจศ ๕๓๒ นพลักษณ์และการเติบโตทางจิตวิญญาณ ๑ (๑-๐-๒)
CECE 532 Enneagram and Spiritual Growth
* จศจศ ๕๓๓ งานวิจัยเรื่องเล่า ๑ (๑-๐-๒)
CECE 533 Narrative Research

นอกเหนือจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกข้างต้นแล้ว นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือกได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำและความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

  (๓) วิทยานิพนธ์    
จศจศ ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒ (๐-๓๖-๐)
CECE 698 Thesis  
  (๔) สารนิพนธ์    
จศจศ ๖๙๗ สารนิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐)
CECE 697 Thematic Paper  

๓.๑.๔ โครงการวิจัยของหลักสูตรและโครงการศึกษาอิสระของหลักสูตร

  • (๑) การวิจัยเรื่องจิต (Consciousness Research)
  • (๒) การวิจัยที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล (Personal Transformation) สู่การเปลี่ยนแปลงระดับองค์กร (Organizational Transformation) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Societal Transformation)
  • (๓) จิตตปัญญาศึกษาในองค์กรหรือชุมชน
  • (๔) การวิจัยแนวบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับศาสตร์สมัยใหม่ เช่น นิเวศวิทยาเชิงลึก
  • (๕) การวิจัยแนวบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น การศึกษา สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง ชีวิตและความตาย
  • (๖) การวิจัยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา
  • (๗) การวิจัยเรื่องระเบียบวิธีวิทยาเชิงจิตตปัญญาศึกษา
Back To Top