รายละเอียดการส่งบทความ

งานประชุมวิชาการทางจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 10

จิตตปัญญาสิบห้าปี "การเติบโตจากภายในสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์"

วันที่ 25 - 26 กุมภาพันธ์ 2565

ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อ. ไทรโยค จ. กาญจนบุรี


1. บทความวิจัย/บทความวิชาการ

กำหนดการในการเปิดรับและพิจารณาบทความ

ระยะเวลาเปิดรับบทความ : ตั้งแต่บัดนี้ – 26 พฤศจิกายน 2564

วันสุดท้ายของการเปิดรับบทความ: 26 พฤศจิกายน 2564

ระยะเวลาปรับแก้บทความตามคำแนะนำ 27 พฤศจิกายน 2564 – 28 มกราคม 2565

วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ที่ปรับแก้ไขตามคำแนะนำ : 28 มกราคม 2565

ประกาศผลการพิจารณาบทความพร้อมลำดับการนำเสนอ: 14 กุมภาพันธ์ 2565

วันนำเสนอบทความ / กิจกรรม : 26 กุมภาพันธ์ 2565

หัวข้อสำหรับการส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการ

บทความที่เกี่ยวข้องกับจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเติบโตจากภายในสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ดังตัวอย่างหัวข้อ ต่อไปนี้

การศึกษา / การเรียนการสอน

การจัดกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการพัฒนามิติภายในกับกลุ่มคนชายขอบ

การสื่อสารเชิงจิตตปัญญา / การใช้สุนทรียสนทนาในบริบทต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงมิติภายใน

การเยียวยารักษาจิตใจ

ชีวิตและความตาย

การพัฒนาอย่างยั่งยืน / การเรียนรู้ในชุมชน

นิเวศวัฒนธรรม

ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต

จิตวิญญาณเพื่อสังคม / การขับเคลื่อนสังคม

จิตตภาวนา / การเจริญสติ

สุขภาวะองค์รวม / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

โครงสร้างบทความวิจัย
  1. ชื่อเรื่อง ให้ใช้ชื่องานวิจัย
  2. ชื่อผู้วิจัย
    - ให้ระบุชื่อผู้วิจัยทุกรูป/คน (กรณีมีนักวิจัยหลายรูป/คน ให้ระบุไม่เกิน 5 รูป/คน ๆ ที่ 6 ขึ้นไป ให้ใช้คำว่า และคนอื่น) ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นคำนำหน้าพระราชทาน
    - ระบุหน่วยงานต้นสังกัด
  3. บทคัดย่อ
    - ระบุเหตุผลในการวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
    - ความยาว ไม่เกิน 300 คำ (ของทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)
    - คำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ
  4. บทนำ (Introduction) - บอกความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตและสมมติฐาน
  5. วิธีการวิจัย ระบุระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบการวิจัย ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ผู้มีส่วนร่วม เครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลและการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง
  6. ผลการวิจัย
    - ข้อมูลการวิจัย และสรุปข้อค้นพบจากการวิจัย
    - กรณีที่ต้องการเสนอตารางหรือรูปภาพประกอบ ให้เสนอไม่เกิน 5 ตาราง/ภาพ
  7. อภิปรายผล วิเคราะห์ผล ยืนยันผลและประเมินคุณค่าการวิจัยที่จะนำไปใช้ได้ ซึ่งนำไปสู่การเขียนข้อเสนอแนะ
  8. ข้อเสนอแนะ เสนอแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของข้อค้นพบในการวิจัย
  9. กิตติกรรมประกาศ/คำขอบคุณ ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องในการวิจัย (ถ้ามี)
  10. เอกสารอ้างอิง
    - ใช้การอ้างอิงตามแบบ APA
    - ระบุเฉพาะเอกสารหลักฐานที่มีการอ้างอิงในบทความวิจัยนี้
โครงสร้างบทความวิชาการ
  1. ชื่อเรื่อง
  2. ชื่อผู้วิจัย
    - ให้ระบุชื่อผู้วิจัยทุกรูป/คน (กรณีมีนักวิจัยหลายรูป/คน ให้ระบุไม่เกิน 5 รูป/คน ๆ ที่ 6 ขึ้นไป
    ให้ใช้คำว่า และคนอื่น) ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นคำนำหน้าพระราชทาน
    - ระบุหน่วยงานต้นสังกัด
  3. บทคัดย่อ
    - ระบุเหตุผลในการวิจัย วัตถุประสงค์ ผลการวิจัย สรุปผลและข้อเสนอแนะ
    - ความยาว ไม่เกิน 300 คำ (ของทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ) - คำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ
  4. บทนำ (Introduction)
    - บอกความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตและสมมติฐาน
  5. เนื้อความ (body)
    - ประเด็นหรือเนื้อเรื่องที่ต้องการนำเสนอ
    - กรณีที่ต้องการเสนอตารางหรือรูปภาพประกอบ ให้เสนอไม่เกิน 5 ตาราง/ภาพ
  6. สรุปผล (conclusion)
    - สรุปข้อค้นพบที่ได้และข้อเสนอแนะ
  7. กิตติกรรมประกาศ/คำขอบคุณ
    ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
  8. เอกสารอ้างอิง
    - ใช้การอ้างอิงตามแบบ APA
    - ระบุเฉพาะเอกสารหลักฐานที่มีการอ้างอิงในบทความวิชาการนี้
ความยาวของบทความ การจัดหน้ากระดาษและขนาดตัวอักษร

- บทความต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 10 หน้ากระดาษ A4 แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4

- การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Margins) ให้เลือกใช้แบบ normal หรือระยะทุกขอบหน้ากระดาษให้ตั้งค่าที่ 1 นิ้ว (2.54 ซม.)

- หัวข้อ ให้ใช้อักษรตัวหนาฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 18 พ้อยท์

- เนื้อความ ให้ใช้อักษรปกติฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 พ้อยท์

- ระยะห่างระหว่างบรรทัดปกติ (single space)


2. บทความทั่วไป

กำหนดการในการเปิดรับและพิจารณาบทความ

ระยะเวลาเปิดรับบทความ : ตั้งแต่บัดนี้ – 28 มกราคม 2565

วันสุดท้ายของการเปิดรับบทความ: 28 มกราคม 2565

ประกาศลำดับการนำเสนอ: 14 กุมภาพันธ์ 2565

วันนำเสนอบทความ / กิจกรรม : 26 กุมภาพันธ์ 2565

หัวข้อสำหรับการส่งบทความทั่วไป

ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้เข้าร่วมท่านอื่นจากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาหรือการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเติบโตจากภายในสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ความยาวของบทความ การจัดหน้ากระดาษและขนาดตัวอักษร

- บทความต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 5 หน้ากระดาษ A4 แต่ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4

- การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Margins) ให้เลือกใช้แบบ normal หรือระยะทุกขอบหน้ากระดาษให้ตั้งค่าที่ 1 นิ้ว (2.54 ซม.)

- หัวข้อ ให้ใช้อักษรตัวหนาฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 18 พ้อยท์

- เนื้อความ ให้ใช้อักษรปกติฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 16 พ้อยท์

- ระยะห่างระหว่างบรรทัดปกติ (single space)


การส่งบทความเพื่อเข้าร่วมพิจารณาตีพิมพ์

ผู้สนใจสามารถส่งบทความวิจัย / บทความวิชาการ / บทความทั่วไป / สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ ได้ที่ อีเมล : cecallforpaper2022@gmail.com


วิธีการนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการ

Round Table Presentation (นำเสนอ 20 นาที และถามตอบ 10 นาที) หรือ

Workshop (60 นาที รวมกิจกรรมเชิงประสบการณ์และการถอดบทเรียน)


สอบถามเพิ่มเติม

การส่งบทความ : cecallforpaper2022@gmail.com

การลงทะเบียนเข้าร่วมงาน : cemuconference@gmail.com