ข่าวสาร

ขอเชิญนักศึกษา ผู้รับบริการ หรือผู้มาติดต่อร่วมตอบแบบประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกของมหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

 

 

ได้ที่ลิงก์ --> แบบวัด EIT  2025  (คลิก)

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ (รอบสัมภาษณ์) ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2568

 

ตามที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568 และได้จัดสอบคัดเลือกรอบข้อเขียน เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2568 บัดนี้จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือกรอบสัมภาษณ์และเวลาในการสอบสัมภาษณ์ ดังนี้


ลำดับที่ ชื่อ - สกุล                             เวลาสัมภาษณ์
1 นางคัทลียา ทาพา                        09.00 – 09.30 น.
2 น.ส.กนิษฐา วงศ์สกุล                  09.30 – 10.00 น.
3 น.ส.ฐิตาภรณ์ มีมงคล                  10.00 – 10.30 น.
4 น.ส.โชติกา รัตนพนาวงษ์             10.30 – 11.00 น.
5 นายไพสิฐ ภัทรนาวิก                    11.00 – 11.30 น.
6 น.ส.พิมพ์ทิชา สวัสดิ์กิตติคุณ       11.30 – 12.00 น.
7 นายศักรินทร์ จิตต์พันธ์                13.00 – 13.30 น.
8 น.ส.กมนนุช วิริยะสมบูรณ์            13.30 – 14.00 น.
9 น.ส.ธารริน อดุลยานนท์                14.00 – 14.30 น.


หมายเหตุ : ขอให้ผู้มีรายชื่อสอบสัมภาษณ์มาก่อนเวลา 15 นาที

กำหนดวัน-เวลา และสถานที่ในการสอบคัดเลือก
วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 09.00 – 14.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์
สถาบันวิจัยประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นางสาววัลภา ศรีสวัสดิ์ (นักวิชาการศึกษา)
โทร. 065 915 0998

เปิดรับสมัคร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2568

 

"การเรียนรู้ไม่ได้มีแค่ในตำรา... แต่เกิดขึ้นจากทุกวันของชีวิต"
หลักสูตรปริญญาโท จิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ)
ชวนคุณกลับมาทบทวนตัวเอง
ตั้งคำถามกับความหมายของการทำงาน การใช้ชีวิต
และค้นหาความสมดุลระหว่าง “ความรู้” และ “ความเข้าใจชีวิต”
เราเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
เหมาะสำหรับคนทำงานที่อยากพัฒนาตัวเองและองค์กรไปพร้อมกัน
 
สมัครได้แล้ววันนี้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/admission-apply/
 
 รายละเอียดเพิ่มเติม: https://graduate.mahidol.ac.th/.../announce/announce.php...
รศ.ดร.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมกับการประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการไม่รับของขวัญ และของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่

 

วันที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 11.30 น. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมกับการประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการไม่รับของขวัญ และของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ 2568 ในการประชุมบุคลากรศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เดือนธันวาคม พ.ศ.2567 โดยมีบุคลากรของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ร่วมรับรู้และตอบรับเจตนารมณ์ดังกล่าวร่วมกัน

 

ชวนเชิญเข้าร่วมกิจกรรม... เปิดบ้านจิตตปัญญาศึกษา 2568
ชวนเชิญเข้าร่วมกิจกรรม..."✨ เปิดบ้านจิตตปัญญาศึกษา 2568 ✨
 
- ทำความรู้จักกับเนื้อหา รายวิชาในหลักสูตร
- พูดคุยสอบถามกับคณาจารย์ และรุ่นพี่
วันอาทิตย์ ที่ 12 มกราคม 2568
เวลา 9.00-12.00 น.
ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)
ไม่มีค่าใช้จ่าย
 
ลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/PaAb9qjg252k3gVMA
 
หรือ สแกน QR Code ในโปสเตอร์
 
 
 
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล “งดรับ งดให้“ ของขวัญหรือผลประโยชน์และของกำนัล

 

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

“งดรับ งดให้“ ของขวัญหรือผลประโยชน์และของกำนัล
โดยร่วมแสดงความปราถนาดีด้วยคำอวยพรผ่านบัตรอวยพร สมุดอวยพรและสื่อสัมคมออนไลน์
เพื่อวัฒนธรรมองค์กรและเพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม เนื่องในโอกาสได้รับทุนสนับสนุน โครงการพันธกิจเพื่อสังคม (SOCIAL ENGAGEMENT) มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

จากเรื่อง

" บอกลาก่อนฟ้าสาง การวางแผนดูแลล่วงหน้าและ
การเตรียมตัวตายอย่างสงบในโลกหลังกำแพง "
 
     โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการ เครือข่ายความร่วมมือจากภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย อ. นพ.อิทธิพล วงษ์พรหม และ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ โดย รศ. ดร. เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์ และเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรภายนอกภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เรือนจำกลางขอนแก่นและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ขอสวัสดีปีใหม่ 2568

 

สุขสันต์ปีใหม่ ขอให้ปีนี้เป็นปีแห่งการเติบโตจากภายใน
ขอให้ทุกย่างก้าว นำพาความสงบและปัญญา
ขอให้หัวใจเปี่ยมด้วยความเมตตา และสติที่มั่นคง
ขอให้ทุกประสบการณ์เป็นบทเรียน
ทุกความท้าทายเป็นโอกาส
และทุกวันเต็มไปด้วยความหมาย
ขอให้มีพลังในการฝึกฝนตน
เปิดรับมิติใหม่แห่งความสุขจากภายใน
และค้นพบความสมดุลระหว่างจิตใจและร่างกาย
ขอให้ปีใหม่นี้นำพาความสงบสุขและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมาสู่ชีวิต
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
 
 

ศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญชวนท่านผู้ที่สนใจการเรียนรู้เพื่อยกระดับความรู้ ทักษะ และจิตใจ เข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมและกิจกรรมที่หลากหลายตลอดทั้งปี 2025 ที่ออกแบบมาเพื่อทุกคน

 

ศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญชวนท่านผู้ที่สนใจการเรียนรู้เพื่อยกระดับความรู้ ทักษะ และจิตใจ เข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมและกิจกรรมที่หลากหลายตลอดทั้งปี 2025 ที่ออกแบบมาเพื่อทุกคน
 
สิ่งที่คุณจะได้รับจากโครงการ
- ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร : ผ่านกิจกรรมที่ออกแบบมาอย่างพิถีพิถันเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพและชีวิตส่วนตัว
- ผู้เชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิ : วิทยากรและกระบวนกรที่มากประสบการณ์
- สถานที่อบรมที่สร้างแรงบันดาลใจ : พื้นที่ธรรมชาติและสถานที่ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้
 
 มาร่วมค้นพบตัวเองและสร้างการเปลี่ยนแปลงในปี 2025 ไปด้วยกัน
สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรฝึกอบรมได้ที่ : http://www.ce.mahidol.ac.th/training/list/24-0-24
 
 ช่องทางการสมัคร : https://forms.gle/vAvCP9RiSbz6QKwW9
 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ชวรัตน์ รัตนเสถียร / ศรายุทธ์ ทัดศรี
02-441-5022-3 ต่อ 11 / 21
chawarat.rat@mahidol.ac.th
srayoot.tha@mahidol.ac.th
Line OA @daf2010w
 
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ อ.ดร.ปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม ที่ได้รับรางวัล ”มนุษยศาสตร์ที่เอาธุระกับสังคม“

 

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอแสดงความยินดีกับ
อ.ดร.ปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม
ที่ได้รับรางวัล
”มนุษยศาสตร์ที่เอาธุระกับสังคม“
เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี
ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบันอาจารย์ปฏิพัทธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการและขับเคลื่อนสังคม และหัวหน้าโครงการ จากใจสู่ใจ คุณค่าความสุข และพลังภายในที่แท้จริงเพื่อชีวิตหลังกำแพง รวมทั้งเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชา “จิตวิญญาณเพื่อสังคม” หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ให้ความสนใจในการทำงานเพื่อสังคมบนฐานจิตวิญญาณ เป็นการพัฒนาทั้งมิติภายในและการทำงานเพื่อผู้คนและสังคมภายนอกไปพร้อม ๆ กัน
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมงานเสวนา “เพชรหรือก้อนหิน: จิตวิญญาณของคนที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ” ในงาน Soul Connect Fest 2025 “Humanice” ณ สามย่านมิตรทาวน์

 

 

เมื่อรอยร้าวแห่งชีวิตได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นความเติบโตงดงาม 
“เพชรหรือก้อนหิน: จิตวิญญาณของคนที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ”
หนึ่งในเวทีห้องย่อยในงานประชุมวิชาการสุขภาวะทางปัญญาปีนี้ … จิตวิญญาณ การร่วมทุกข์ ความหวัง
เวทีนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเราได้มาพบกัน แต่ละท่านคือเพชรเม็ดงามที่เต็มเปี่ยมด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ แต่กลับถูกโครงสร้างสังคมทำให้ต้องกลายเป็น “ชายขอบ” ของสังคม ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงโอกาส สิทธิและความเป็นธรรม ในแง่หนึ่งแง่ใดที่มาจากความเป็นตัวตน อัตลักษณ์ ถิ่นฐาน วัฒนธรรม หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ฯลฯ
ก่อนจะมาเป็นเวทีนี้ เราประชุมงานออนไลน์กันหลายครั้ง ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และได้มาพบหน้ากันจริง ๆ เพื่อทำ Workshop อีก 2 ครั้ง ในต้นปีนี้ ทุกกระบวนการเป็นไปด้วยความลึกซึ้งและโอบกอดซึ่งกันและกัน
 
… รอยร้าวที่ซ่อนลึกในความเจ็บปวดของชีวิตได้ถูกเปิดเผยออก ภายใต้ความเข้มแข็งที่ซ่อนความเปราะบางไว้เต็มอก เรื่องราวของทุกคนช่างปวดรวดร้าวเหลือเกิน แต่พื้นที่แห่งการพบกันนั้นก็เพียงพอที่จะทำให้ดอกไม้ได้เบ่งบานในรอยแยกของจิตวิญญาณ เยียวยาบาดแผล และกล้าหาญที่จะเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม …
เราคือตัวแทนที่จะเป็นกระบอกเสียงให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ … อดีตผู้ต้องขัง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงที่เคยทำแท้ง ผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มคนไร้สัญชาติ … ว่าจิตวิญญาณของมนุษย์พร้อมเปลี่ยนแปลงและเติบโต ไม่ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใดหรืออยู่ในสถานะทางสังคมรูปแบบใดก็ตาม
เราไม่ใช่คนชายขอบ แต่ถูกทำให้เป็นชายขอบ เราจะฟื้นคืนเพื่อให้เสียงเพรียกแห่งความเจ็บปวดและจิตวิญญาณแห่งการเติบโตได้ปรากฏขึ้นในสังคมในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียม
 
     ผมขอเชิญชวนทุกคนมาฟังเรื่องเล่าประสบการณ์ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนคนหนึ่ง และการประกอบสร้างของสังคมที่เราเป็นส่วนหนึ่งในวงจรนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราจะสามารถเป็นคนหนึ่งที่มีความรักอย่างไร้เงื่อนไขต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างจากกรอบความคิดความเชื่อเดิมของเราได้อย่างไร
เชื่อว่าเวทีนี้จะเติมพลังแห่งชีวิตและจิตวิญญาณ ให้ผู้คนเกิดความหวังและศรัทธาในความเป็นมนุษย์ และเห็นโอกาสในการสร้างสังคมที่เท่าเทียม สังคมที่พร้อมร่วมทั้งทุกข์และสุขโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
 
วันเสาร์ ที่ 1 มีนาคม 2568
เวลา 15.30 - 17.30 น.
ณ เดอะ มิตร-ติ้ง รูม (The Mitr-ting room) ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์
ห้องนี้ไม่มีบันทึกหรือการถ่ายทอด พบกันสถานที่จริงเท่านั้น
 
ลงทะเบียนที่นี่ 
 
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ อาจารย์จำนวน 2 อัตรา

 

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ จำนวน 2 อัตรา ปฏิบัติงาน
ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
 
---> เปิดรับสมัคร :6 ธันวาคม 2567
---> เปิดรับสมัคร :28 กุมภาพันธ์ 2568
---> ประกาศรายชื่อ :7 มีนาคม 2568
 
รายละเอียดเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
 
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมงานเสวนา “จิตตปัญญาศึกษา: การเปลี่ยนแปลงจากภายในครูสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในระดับพื้นที่” ในงาน Soul Connect Fest 2025 “Humanice” ณ สามย่านมิตรทาวน์

 

"เพราะการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เกิดขึ้นจากการบังคับ แต่มาจากหัวใจของผู้ลงมือทำจริงๆ"
เกือบ 20 ปี ที่ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาได้ร่วมเดินทางเพื่อสนับสนุนให้คนเป็นครูได้สัมผัสความงดงามภายใน และถ่ายทอดการดูแลด้วยความรักไปสู่ลูกศิษย์
โครงการหยั่งรากจิตตปัญญาศึกษาสู่สังคมสุขภาวะ คือตัวอย่างของความพยายามนี้ และจากประสบการณ์ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นก้าวสำคัญจากความร่วมมือระหว่างคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ และ เทศบาลนครนครสวรรค์ ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาความร่วมมือกับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในพื้นที่ จนเกิดเป็นตัวอย่างของ "พื้นที่ที่ขับเคลื่อนงานในระดับจังหวัด" ทำให้โรงเรียนเล็กๆ ในชุมชนที่ดูแลเด็กด้วยหัวใจเกิดขึ้นได้
 
การเสวนาครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อแบ่งปันประสบการณ์จากพื้นที่จริง เป็นแรงบันดาลใจให้แนวทางการศึกษาเช่นนี้ขยายไปสู่เด็กๆ ในวงกว้าง ลดความเหลื่อมล้ำ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจากภายในของครูและชุมชน
จากที่เราได้ซักซ้อมเตรียมประเด็นร่วมกับผู้ร่วมเสวนาซึ่งล้วนเป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เราสัมผัสได้ถึงความจริงใจ เรียบง่ายและหัวใจที่ผลิบาน และงานนี้ได้รับเกียรติจากอ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ มาร่วมดำเนินรายการ รับรองว่าการพูดคุยจะลึกซึ้ง และคมชัด
 
 
ขอเชิญทุกท่านที่อยากเห็นการศึกษาไทยที่มีความอ่อนโยนเป็นเรื่องเยาวชนเข้าถึงได้มากขึ้นมาร่วมเป็นพลังในการเรียนรู้ครั้งนี้ด้วยกัน
“จิตตปัญญาศึกษา: การเปลี่ยนแปลงจากภายในครูสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในระดับพื้นที่”
 
วันศุกร์ ที่ 28 กุมภาาพันธ์ พ.ศ.2568
เวลา 15.30-17.30 น.
ห้องประชุมชั้น 11 โรงแรมทริปเปิ้ลวาย สามย่านมิตรทาวน์
 
นำโดย : อ.ดร.อริสา สุมามาลย์ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ม.มหิดล
ลงทะเบียนที่ https://ticketmelon.com/soulconnectconference/t1-4
 
 
ชวนคุณมาร่วมสัมผัส "หนังสือพาใจกลับบ้าน"

 

****ขอความกรุณาสั่งท่านละไม่เกิน 3 เล่ม ****
หากท่านสั่งเกิน 3 เล่ม ศูนย์ขอดำเนินการจัดส่งให้เพียง 3 เล่ม
และขอไม่คืนเงินค่าจัดส่งที่เกินมา
เพราะเราอยากให้กระจายไปในต่างพื้นที่ หากท่านอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
กรุณาใช้วิธีการแบ่งกันอ่าน เพื่อให้การพาใจกลับบ้าน กระจายได้ทั่วถึง
 
*****************************************************
ชวนคุณมาร่วมสัมผัส "หนังสือพาใจกลับบ้าน"
 พบกับประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร! 
 
"หนังสือพาใจกลับบ้าน" เป็นหนังสือที่จะพาคุณเดินทางผ่านเรื่องราวที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยความรู้สึก ไม่ว่าคุณจะเคยมีประสบการณ์หรือไม่ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณค้นพบความหมายของการกลับบ้านในแบบที่คุณไม่เคยคิดมาก่อน
 
ทำไมคุณถึงไม่ควรพลาด?
เรื่องราวที่เข้าถึงอารมณ์: ทุกหน้าเต็มไปด้วยความรู้สึกและการสะท้อนความเป็นจริงในชีวิต
แรงบันดาลใจ: จะช่วยให้คุณมองเห็นคุณค่าของการกลับบ้านและความสัมพันธ์ที่สำคัญ
การสนทนาที่น่าสนใจ: มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแชร์ประสบการณ์กับผู้อ่านคนอื่น ๆ
 
     มาร่วมกันสร้างความทรงจำดี ๆ และปล่อยให้ "หนังสือพาใจกลับบ้าน" เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางในชีวิตของคุณ!
หนังสือจ่ายเฉพาะค่าจัดส่งเท่านั้น 50 บาท/เล่ม
 
สนใจสั่งซื้อได้ที่ http://cemubook.lnwshop.com/p/61
 
หรือ ดาวน์โหลด PDF ได้ที่
 
 
ขอแสดงความยินดีกับ อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร ที่ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาจารย์ของอังกฤษ
 
 
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ
อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร ที่ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะอาจารย์ของอังกฤษ
UK PROFESSIONAL STANDARDS FRAMEWORK (UK-PSF)
ระดับ SENIOR FELLOW
ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสอบสัมภาษณ์เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

 

          ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง

เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม จำนวน 1 อัตรา

สังกัดศูนย์จิตตปัญญาศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น
บัดนี้ การรับสมัครได้เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับ

การสอบสัมภาษณ์ โดยรายละเอียดกำหนดการสอบสัมภาษณ์ดังนี้


1. นางสาวรติรัตน์ ผ่องสกุล
2. นายชวรัตน์ รัตนสเถียร
3. นางสาวปทุมรัตน์ หิรัญพฤกษ์


           ให้ผู้มีสิทธิสอบตำแหน่งดังกล่าวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ใน

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 – 11.00 น.

ณ ห้องประชุมศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ชั้น 4 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

ดาวน์โหลดเอกสาร

 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม

 

         จึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสอบคัดเลือก ดังต่อไปนี้ 

 

  1. นางสาวธชกร ศรีสมวงศ์
  2.  นางสาวจุฑาภรณ์ บุญอุ้ม
  3. นายเตชินท์ สุทธิชัยรัตนา *
  4. นางสาวลวิตรา สุขพรหม
  5. นายฐิติวัชร์ ยุทธวิสุทธิ์ *
  6. นางสาวเกื้อผกา สืบแก้ว
  7. นายพงศธร แก้วปาน *
  8. นางสาวชญาดา วิวัฒนากุล
  9. นายธวัชธิเดช แซ่ติ้ว *
  10. นางสาวรังสิมา สง่าเนตร
  11. นางสาวธิคณา ศรีบุญนาค
  12. นางสาวณัฐฐพัชร์ คงคำ
  13. นางสาวเบญจพร จันทร์จำเริญกิจ
  14. นายพันธ์ศักดิ์ คาวิน *
  15. นายภูริพงศ์ จิตเที่ยง *
  16. นายวิษณุ สารจันทร์ *
  17. นางสาวพิมพ์อร เลาหสุวรรณพานิช
  18. นางสาววราภรณ์ อุดมศิลป์
  19. นางสาวกัณฐิกา กลางพรม
  20. นางสาวชนิกานต์ ชาญณรงค์
  21. นางสาวจุฬาลักษณ์ มูลสถาน
  22. นางสาวธัญญลักษณ์ ทวีกาญจน์
  23. นายภราดร สินเจริญพร *
  24. นางสาวรติรัตน์ ผ่องสกุล
  25. นางสาวนริศวรรณ ศรีประยูรธรรม
  26. นางสาวเยาวลักษ์ คงศิลา
  27. นางสาวภัทรภร โสมรักษ์
  28. นางสาวนฤมล พุกนัด
  29. นางสาวสุธารี อาทรธุระสุข
  30. นายรัชชานนท์ กุลชนะนิมิต *
  31. นายชวรัตน์ รัตนเสถียร *
  32. นางสาวปทุมรัตน์ หิรัญพฤกษ์

 

          ให้ผู้มีสิทธิสอบตำแหน่งดังกล่าวเข้ารับการสอบคัดเลือก

ในวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567

ณ ห้องราชาวดี (326) ชั้น 3 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

เวลา 09.00 – 10.00 น. : สอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป

เวลา 10.00 – 12.00 น. : สอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง 

 

        ข้อปฏิบัติในการเข้าสอบข้อเขียน

  • แต่งกายด้วยชุดสุภาพเท่านั้น 
  • นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงตนแก่กรรมการคุมสอบ 
  • ไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบหลังจากเริ่มสอบไปแล้ว 15 นาที
  • ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดและเอกสารใด ๆ ระหว่างการสอบโดยเด็ดขาด
  • หากพบผู้มีสิทธิสอบกระทำการทุจริตในการสอบไม่ว่ากรณีใด ผลสอบจะถือเป็นโมฆะ
  • สวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างตลอดการสอบคัดเลือก

 

หมายเหตุ * กรณีเพศชายต้องนำเอกสารผ่านการทหารหรือได้รับการยกเว้นมาแสดง

กับเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าห้องสอบ หากไม่นำเอกสารดังกล่าวมาแสดงกับเจ้าหน้าที่

ก่อนเข้าห้องสอบ มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิในการสอบคัดเลือก

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือกบุคคล ตำแหน่ง อาจารย์ ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา จำนวน 1 อัตรา

 

 

          ตามที่ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ดำเนินการเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน ๑ อัตรา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา

          บัดนี้ การประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกในตำแหน่งดังกล่าว ได้ครบกำหนดเวลา จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือก พร้อมกำหนด วัน เวลา สถานที่ ในการสอบคัดเลือก ตามรายชื่อแนบท้ายนี้

 

ลำดับ รายชื่อ
๑.                 นางสาวรัตนะ พูนเกษม
๒.                 นางสาวศรันย์กร ชมพูนุท ณ อยุธยา

 

 

กำหนดการสอบคัดเลือก :

สอบข้อเขียน ในวันจันทร์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมอัญชัญ ๓๑๙ (๒) ชั้น ๓ อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

 

หมายเหตุ: กรุณามาถึงห้องสอบก่อนเวลาสอบอย่างน้อย ๑๕ นาที โปรดแต่งกายสุภาพเรียบร้อย และนำบัตรประชาชนมาเพื่อแสดงตนในวันสอบ

 

นางสาวสุณิตา สร้อยสงิม
MS.SUNITA SOYSA-NGIM


ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

999 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา

อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทรศัพท์ 0 2441 5022-23 ต่อ 11/ ID LINE: Sunita.kaow

โทรสาร 0 2441 5024

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม จำนวน 1 อัตรา

  

          ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม จำนวน 1 อัตรา ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม 2567
 

ตำแหน่ง :  เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม

หน่วยงาน : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง :

  • เพศชาย / หญิง อายุไม่เกิน ๔๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร (เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว)
  • ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชา
  • มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล
  • มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  • มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่ สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office, Canva หรือโปรแกรมการออกแบบผลิตภัณฑ์การให้บริการอื่น ๆ ได้
  • หากมีประสบการณ์ทำงานด้านการจัดอบรม การตลาด หรือมีความชำนาญในการใช้ซอฟต์แวร์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม การขาย และการตลาดจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

 

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมตามพันธกิจ และแผนงานของศูนย์
  • ดำเนินกิจกรรมการตลาดเชิงรุก การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การศึกษา วิเคราะห์ การวางแผน และสำรวจความต้องการของลูกค้าในด้านการฝึกอบรม
  • กำหนดหลักสูตร วิเคราะห์กำไรขาดทุน รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมต่าง ๆ
  • ช่วยดำเนินการฝึกอบรม ติดตาม ประเมินผลการฝึกอบรม  รวมถึงดำเนินการขออนุมัติหลักการ งบประมาณ และเบิกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
  • ประสานงานจัดอบรมให้เป็นไปตามแผนฝึกอบรมประจำปี
  • ประสานงานการจัดทำหลักสูตร Non degree
  • ประสานงานการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับหน่วยงานอื่น
  • ดูแลงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ของศูนย์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี และ ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด

 
รายละเอียดเพิ่มเติม
 
 

 

ดร.นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ พร้อมด้วยบุคลากรศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ให้การต้อนรับคณะกรรมการการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2567

     

          เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยบุคลากรศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ให้การต้อนรับคณะกรรมการการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสเข้าตรวจประเมินศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบ MUEdPEx-A1 (การตรวจเต็มรูปแบบ) รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ จากสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานคณะกรรมการ ศูนย์นำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันในหัวข้อ “Roadmap to Vision” “การปฏิบัติที่เป็นเลิศขององค์กร” “การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร (ที่จะเกิดใน 1-3 ปีต่อจากนี้)” และ “ผลการดำเนินงานที่สำคัญในปัจจุบัน ที่เพิ่มเติมจากรายงานจนถึงปัจจุบัน” 16 กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษานำเสนอผลการตรวจประเมินฯ แก่ส่วนงาน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังพร้อมทั้งให้ข้อเสนอจุดแข็งและแนวปฏิบัติที่ดีไปเป็นพื้นฐานในการพัฒนาส่วนงานให้มีการดำเนินการที่เป็นเลิศในส่วนนี้ต่อไป

 

รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการพร้อมด้วยบุคลากรของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมทำบุญเดือนเกิดในเดือนมิถุนายน ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

     

      วันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 08.45 น. รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการพร้อมด้วยบุคลากรของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมทำบุญเดือนเกิดในเดือนมิถุนายน ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี อาจารย์ ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล คณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ วัฒนะ ผู้แทนวิทยาลัยฯ ให้การต้อนรับและมอบของที่ระลึก ทั้งนี้ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ถวายปัจจัยร่วมทำบุญส่วนกลาง เป็นเงิน 3,500 บาท ณ บริเวณชั้น 1 วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ขออ้างคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงอำนวยอวยพรให้กุศลผลบุญนี้ ดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขและความเจริญตลอดไป

 

 

“จากจุดเริ่มต้นสู่ความท้าทายของผู้เดินทางภายใน” กิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ห้องย่อยเพื่อสัมผัสประสบการณ์ตรงจากจิตตปัญญาศึกษา ในงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 1


ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2567
เวลา 8.30-16.30 น.
ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ทาง http://www.ce.mahidol.ac.th/conference/2024/registered.php

ผู้สมัครสามารถเลือกเข้าห้องย่อยตามความสนใจของท่าน ในกิจกรรมช่วงบ่าย วันที่ 22 สิงหาคม 2567

***ห้องย่อยที่ 1***
การนำพาการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ

กระบวนการเรียนรู้ที่จะเชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นองค์ประกอบสำคัญและแนวทางของการนำพาการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ รวมทั้งแนวทางในการดูแลสุขภาวะทางจิตวิญญาณแบบองค์รวมของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ที่เคารพและเชื่อมั่นในประสบการณ์หรือศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วม เปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนตกผลึกร่วมกันและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการนำพาการเรียนรู้ให้กับผู้คน

กระบวนกร
- อ.จรายุทธ สุวรรณชนะ
ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและกระบวนกรอิสระที่มีประสบการณ์นำพาการเรียนรู้ที่ส่งเสริมเกื้อกูลให้คนหลังกำแพงและกลุ่มคนชายขอบได้เกิดการพัฒนสุขสภาวะทางจิตวิญญาณมายาวนานกว่า 15 ปี
- อ. นันธนันท์ โพธิ์รักษาเจริญ ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและกระบวนกรจิตตปัญญาผู้ออกแบบและนำพาการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้เชี่ยวชาญในการเต้นแทงโก้เพื่อการพัฒนามิติภายใน

***ห้องย่อยที่ 2***
“วิทยาศาสตร์บูรณาการจิตตปัญญา” ให้สมองกับหัวใจจับมือกันในชั้นเรียน

กระบวนการเรียนรู้ที่จะเชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสประสบการณ์ตรงผ่านกิจกรรมเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ (experience learning ) เรื่องการทำงานของสมองและระบบประสาท กับพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในชั้นเรียนตามแนวจิตตปัญญา พร้อมตัวอย่างชั้นเรียนวิทยาศาตร์ของวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง จ.สุโขทัย

กระบวนกร
- อ.รัชนี วิศิษฎ์วโรดม ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและกระบวนกรโครงการหยั่งรากจิตตปัญญาศึกษาสู่สังคมแห่งความสุข
- อ.ชัชฎาพร อ่อนกล ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับอาชีวศึกษาประจำปี 2566

***ห้องย่อยที่ 3***
“My Perfect Day” ธรรมดาที่แสนพิเศษ

กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่จะชวนให้ผู้เข้าร่วมได้สำรวจฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปของชีวิต และตั้งคำถามกับความหมายของ "ชีวิตที่ดี" ตามแบบเดิมๆ เพื่อเปิดโอกาสให้กับมุมมองใหม่ต่อคุณค่าในการดำรงอยู่

กระบวนกร
- อ.ยิ่งยอด หวังประโยชน์ ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและกระบวนกรอิสระ
- อ.ธนิดา อภิสิทธิ์ ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและนักออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาและศิลปะเพื่อการรู้จักตนเอง

***ห้องย่อยที่ 4*** 
“เคลื่อนกาย...ได้ยินใจ” กระบวนการเรียนรู้ผ่านร่างกายที่เชื่อมโยงกับจิตใจ

กระบวนการเรียนรู้ที่จะเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจ ทำความรู้จักกระบวนการเรียนรู้ผ่านฐานกายที่ทำให้เกิดการรู้จักและเข้าใจตัวเอง

กระบวนกร
- อ.ฐาณารัตน์ สุธนากุลวิทย์ ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและนักจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายในแนวทาง Movement-Based Expressive Arts / Registered Somatic Movement Educator
- อ.ดร. อริสา สุมามาลย์ ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษาและอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ค่าสมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการ
- Early Bird ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 มิ.ย. 67 ราคา 2,500 บาท
- 1-31 ก.ค. 67 ราคา 3,000 บาท
- ตั้งแต่ 1 ส.ค. เป็นต้นไป หรือ Walk-in ราคา 3,500 บาท

สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/ผู้ส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการ 2,000 บาท

 

 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 3

        ตามที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 3 นั้น บัดนี้ จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ดังนี้

1.นายอันดามัน แสนสุข
2. นายกันตพัฒน์ เจริญกิจวริทธิ์
3. นางสาววรันธร รัตนตั้งตระกูล
4. นางสาวดวงกมล คุ้มศิริ

       

        ทั้งนี้ขอให้ผู้มีรายชื่อผ่านการคัดเลือกดังกล่าวข้างต้น รายงานตัวเป็นผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาผ่านทาง
ระบบออนไลน์ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students

ภายในวันที่ 2 – 8 กรกฎาคม 2567 

AI กับการพัฒนาจิตใจของมนุษย์จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต มาร่วมค้นพบคำตอบไปด้วยกัน ในงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 11

 

AI กับการพัฒนาจิตใจของมนุษย์จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต มาร่วมค้นพบคำตอบไปด้วยกัน ในงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 11
ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2567
เวลา 8.30-16.30 น.
ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ
โดยผู้เชี่ยวชาญที่จะชวนให้ทุกท่านได้พบกับความหมายของ AI ที่เข้ามามีบทบาทต่ออนาคตของการพัฒนามิติภายในของมนุษย์
รศ. ดร. นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ. ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยแนวหน้า ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนโดย รศ. ดร. นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
นอกจากนี้ภายในงานทุกท่านจะได้พบกับ เวทีปาฐากถา เวทีจิตตปัญญาเสวนา การนำเสนอบทความทางวิชาการ รวมทั้งสัมผัสประสบการณ์ตรงจากกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางจิตตปัญญาศึกษา
 
ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ทาง http://www.ce.mahidol.ac.th/conference/2024/registered.php
 
ค่าสมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการ
Early Bird ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 มิ.ย. 67 ราคา 2,500 บาท
1-31 ก.ค. 67 ราคา 3,000 บาท
ตั้งแต่ 1 ส.ค. เป็นต้นไป หรือ Walk-in ราคา 3,500 บาท
สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/ผู้ส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการ 2,000 บาท
หมายเหตุ รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง / ไม่รวมค่าที่พัก
 
ขอเชิญชวนมาร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในเวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 82 “Inner Development Goals: ยั่งยืนจากภายใน...ทำได้จริงหรือ?”
ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2567 หัวข้อ “จิตตปัญญาศึกษากับความท้าทายในการพัฒนามนุษย์” และการประชุมโครงการหยั่งรากจิตตปัญญาศึกษา สู่สังคมแห่งความสุข

 

ภายในงานประกอบไปด้วย เวทีปาฐากถา เวทีจิตตปัญญาเสวนา กระบวนการเรียนรู้ในแนวทางจิตตปัญญาศึกษาและการนำเสนอบทความทางวิชาการ

 

เวทีปาฐากถา

- วันที่  22 ส.ค. 2567 หัวข้อ “การพัฒนาคน เพื่อสร้างสุขภาวะให้กับสังคม”

องค์ปาฐก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

- วันที่ 23 ส.ค. 2567 หัวข้อ “จิตตปัญญาศึกษากับความยั่งยืนในบริบทอุดมศึกษา

(Contemplative Approaches to Sustainability in Higher Education)”

องค์ปาฐก รศ. ดร. นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

 

เวทีเสวนา

- วันที่ 22 ส.ค. 67 หัวข้อ “ฟื้นฟูจิตวิญญาณแห่งการศึกษา”

วิทยากรผู้ร่วมเสวนา อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ / อ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์ / รศ. ดร. นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

ผู้ดำเนินรายการ อ. ดร. ภญ.ชรรินชร เสถียร

 - วันที่ 23 ส.ค. 67 หัวข้อ “AI กับอนาคตของการพัฒนาจิต”

วิทยากรผู้ร่วมเสวนา รศ. ดร. นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย / ผศ. ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์

ผู้ดำเนินรายการ รศ. ดร. นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

 

กิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ห้องย่อยเพื่อสัมผัสประสบการณ์ตรงจากจิตตปัญญาศึกษา

จากจุดเริ่มต้นสู่ความท้าทายของผู้เดินทางภายใน” (22 ส.ค. 2567)

 

  • ห้องย่อยที่ 1 การนำพาการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ

  กระบวนกร อ.จรายุทธ สุวรรณชนะ / อ.นันธนันท์ โพธิ์รักษาเจริญ

  •  ห้องย่อยที่ 2 “วิทยาศาสตร์บูรณาการจิตตปัญญา” ให้สมองกับหัวใจจับมือกันในชั้นเรียน

   กระบวนกร อ.รัชนี วิศิษฎ์วโรดม / อ.ชัชฎาพร อ่อนกล

  • ห้องย่อยที่ 3 “My Perfect! Day” ธรรมดาที่แสนพิเศษ

  กระบวนกร อ.ยิ่งยอด หวังประโยชน์ / อ.ธนิดา อภิสิทธิ์

  • ห้องย่อยที่ 4 “เคลื่อนกาย...ได้ยินใจ” กระบวนการเรียนรู้ผ่านร่างกายที่เชื่อมโยงกับจิตใจ

  กระบวนกร อ.ฐาณารัตน์ สุธนากุลวิทย์  / อ. ดร.อริสา สุมามาลย์

 

การนำเสนอบทความวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

ในรูปแบบ Round Table Presentation (23 ส.ค. 2567)

 

ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ทาง http://www.ce.mahidol.ac.th/conference/2024/registered.php

 

ค่าสมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการ

Early Bird ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 มิ.ย. 67 ราคา 2,500 บาท

1-31 ก.ค. 67 ราคา 3,000 บาท

ตั้งแต่ 1 ส.ค. เป็นต้นไป หรือ Walk-in  ราคา 3,500 บาท

สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/ผู้ส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการ 2,000 บาท

หมายเหตุ รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง / ไม่รวมค่าที่พัก

 

ท่านที่สนใจส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการ

สามารถส่งบทความเพื่อนำเสนอในรูปแบบ Round Table Presentation ได้ทาง

Call for Papers --> https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSchfdE6vSIw-

 

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 11 เพิ่มเติมได้ที่ 

http://www.ce.mahidol.ac.th/conference/2024/index.php

 

***ขยายเวลารับบทความ*** เชิญชวนส่งบทความเพื่อนำเสนอในรูปแบบ Round Table Presentation ในงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2567 เรื่อง “จิตตปัญญาศึกษากับความท้าทายในการพัฒ

 

Call for Papers
 
 
เปิดรับบทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) โดยเน้นสาขา ดังนี้
1. การศึกษา/การเรียนการสอน
2. การจัดกระบวนการเรียนรู้
3. กระบวนการพัฒนามิติภายในกับกลุ่มคนชายขอบ
4. การสื่อสารเชิงจิตตปัญญา/การใช้สุนทรียสนทนาในบริบทต่าง ๆ
5. การเปลี่ยนแปลงมิติภายใน
6. การเยียวยารักษาจิตใจ
7. ชีวิตและความตาย
8. การพัฒนาอย่างยั่งยืน/การเรียนรู้ในชุมชน
9. นิเวศวัฒนธรรม
10. ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต
11. จิตวิญญาณเพื่อสังคม/การขับเคลื่อนสังคม
12. จิตตภาวนา/การเจริญสติ
13. สุขภาวะองค์รวม/สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
14. หัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการพัฒนามนุษย์ในบริบทต่าง ๆ

เปิดรับบทความ ตั้งแต่บัดนี้- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ค่าลงทะเบียนเข้าร่วม/นำเสนอบทความในงานประชุมวิชาการจำนวน 2,000 บาท/ท่าน*

ส่งบทความได้ที่ https://forms.gle/zGTiUQRoPv9RshwN6

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายพิจารณาบทความ
หมายเลขโทรศัพท์ 02-441-5022 ต่อ 15 หรือ 16
*นักศึกษาของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถขอทุนสนับสนุนการนำเสนอบทความได้ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การให้ทุนอุดหนุนในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ไปเสนอผลงานทางวิชาการภายในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ขอเชิญชวนเข้าร่วม กลุ่ม กาย-ใจ ยิ้มแป้น ด้วยเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซี เริ่มตั้งแต่ วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ณ พื้นที่โถงชั้น 1 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
องค์กรที่ทำงานด้านการศึกษาเรียนรู้มิติภายในของมนุษย์
ให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจและจิตวิญญาณ
ที่ส่งผลต่อสุขภาวะด้านอื่น ๆ อย่างเป็นองค์รวม
เห็นความสำคัญในการนำเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซี ซึ่งเป็นกิจกรรมการออกกำลังให้ร่างกายและจิตใจ (mind-body exercise) มาใช้ในการสนับสนุน นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
ตลอดถึง ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ให้ได้พึ่งพาศักยภาพตนเอง
ในการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ และสนับสนุนผู้นำตามธรรมชาติในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนสุขภาพดีที่เข้มแข็งยั่งยืน
 
ขอเชิญ นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล และประชาชนทั่วไป
เข้าร่วมกิจกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 15.45-16.45 น.
เริ่มตั้งแต่ วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
ณ พื้นที่โถงชั้น 1 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
 
• ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซีมาก่อน
• เข้าร่วมกิจกรรมช่วงเวลาใดก็ได้
• เน้นดูตัวอย่างและทำตามผู้นำกิจกรรม (มีทีมครูจิตอาสาคอยดูแลแนะนำ)
• ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สะดวกเมื่อไหร่ก็มา
ขอเชิญร่วมตอบแบบประเมิน (EIT ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ อาจารย์จำนวน 1 อัตรา
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ อาจารย์จำนวน 1 อัตรา ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 26  สิงหาคม 2567
 
รายละเอียดเพิ่มเติม
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ (รอบสอบสัมภาษณ์) ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567 (รับสมัครรอบที่

 

ตามที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ)
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่
ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 3 และได้มีการจัดสอบคัดเลือกรอบข้อเขียนไป
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 นั้น บัดนี้ จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบรอบสัมภาษณ์
และรอบเวลาการสัมภาษณ์ ดังนี้

รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
1.นายอันดามัน แสนสุข
เวลาการสอบสัมภาษณ์ 09.00 – 09.30 น.


2.นายกันตพัฒน์ เจริญกิจวริทธิ์
เวลาการสอบสัมภาษณ์ 09.35 – 10.05 น.


3.นางสาววรันธร รัตนตั้งตระกูล
เวลาการสอบสัมภาษณ์ 10.10 – 10.40 น.


4.นางสาวดวงกมล คุ้มศิริ
เวลาการสอบสัมภาษณ์ 10.45 – 11.15 น.


หมายเหตุ : ขอให้ผู้สอบมาก่อนเวลาการเข้าสัมภาษณ์ 15 นาที

กำหนดวันและสถานที่ในการสอบคัดเลือกรอบสัมภาษณ์ วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2567
ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์
สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณวัลภา ศรีสวัสดิ์ โทร. 065 915 0998

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 3

          ตามที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 นั้น บัดนี้ จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือก (รอบข้อเขียน) ดังนี้


   1.นายอันดามัน แสนสุข
   2.นายศิริชัย นุกูลวุฒิโอภาส
   3.นายกันตพัฒน์ เจริญกิจวริทธิ์
   4.นางสาวอัญชิษฐา เตชะรักษ์พงษ์
   5.นางสาววรันธร รัตนตั้งตระกูล
   6.นางสาวดวงกมล คุ้มศิริ


      ทั้งนี้ขอให้ผู้มีสิทธิ์สอบดังรายชื่อข้างต้น ส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยขอให้เล่า “เส้นทางชีวิตของฉัน” ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 โดยพิมพ์ส่งเป็นไฟล์ Microsoft word (.doc หรือ .docx) เท่านั้น และนำส่งเอกสารทางอีเมล์ edcemahidol@gmail.com ภายในวันที่ 11 มิถุนายน 2567
กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการสอบคัดเลือก วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณวัลภา ศรีสวัสดิ์ โทร. 065 915 0998

 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 2

     ตามที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 นั้น บัดนี้ จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ดังนี้
          1.นางสาวณัฎฐกานต์ โสรัตน์
          2.นายเฉลิมพันธ์ เสซัง
          3.นางจุไรวรรณ งามชัญฤกษ์
          4.นายพลรัฐ ตะโนดแก้ว
          5.นางสาวศิริรัตน์ เลิศสุชาตวนิช
          6.นางสาวเมธาวจี สาระคุณ
          7.นางสาวศุภกาญจน์ มุสิกาญจน์
          8.นางพิสชาภรณ์ ดาราธรรมติ

ที่นั่งเต็มแล้ว!!! งานเวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 81 เรื่อง อบกอดผู้ดูแล...ประสบการณ์ภายในของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว

 

ที่นั่งเต็มแล้ว!!!
 
เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 81
ในงาน “โอบกอดผู้ดูแล...ประสบการณ์ภายในของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว”
วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ บ้านเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ท่านสามารถติดตามการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
 
ได้ที่ลิงค์ https://www.facebook.com/cemuthai/
 
ในช่วงเสวนา หัวข้อ "ประสบการณ์ภายในของผู้ดูแล ผู้ป่วยในครอบครัว " เวลา 9.00-11.00 น.

"หลานม่า" ยังมาแรง "ลูกแม่" ก็แรงไม่แพ้กัน
เชิญชวนมาเรียนรู้เรื่องเล่าของผู้ดูแลในชีวิตจริงผ่านประสบการณ์ตรงไปด้วยกัน
...........................................................................................................................

ในงาน “โอบกอดผู้ดูแล...ประสบการณ์ภายในของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว”
(เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 81)

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ บ้านเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
1) การเสวนาหัวข้อ “ประสบการณ์ภายในของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว” และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
2) Workshop กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเข้าใจและโอบกอดผู้ดูแล โดยในWorkshop ท่านจะได้ ...
- ทำความเข้าใจตนเองในฐานะผู้ดูแลหรือเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น
- รักและโอบกอดตนเอง ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ดูแลหรือไม่
- เห็นโอกาสและวิธีการในการดูแลตัวเอง

วิทยากร โดยศิษย์เก่าศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยโลกภายในที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในครอบครัว

อ.ดร.ภญ.ชรรินชร เสถียร (หัวข้อวิจัย: การเติบโตภายใน...

 

ลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/forms

 

การเดินทาง

วิดีโอ การเดินทาง : https://youtu.be/uYICG7fdshM?si=84Bq8aYbKX3-0RTU

แผนที่การเดินทาง  : https://maps.app.goo.gl/YGv5c7SQXzGQr9oV9

 

บุคลากรของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีรดน้ำดำหัว ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวันปีใหม่สงกรานต์ 2567

บุคลากรของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีรดน้ำดำหัว ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวันปีใหม่สงกรานต์ 2567 โดยมี อาจารย์หมอชัชวาลย์ ศิลปกิจ ให้พรเพื่อเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ไทยที่จะมาถึงในอีกไม่กี่วัน บรรยากาศเป็นไปแบบไทยๆ เรียบง่ายแต่ได้พลังงานที่ดีจากท่านผู้อำนวยการ จัดขึ้นที่ ห้องภาวนา ชั้น 3 วันที่ 9 เมษายน 2567

กำหนดการรับสมัครรอบที่ 3 (รอบสุดท้าย) หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2567

เรียนวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

กำหนดการรับสมัคร
1. ระยะเวลาการเปิดรับสมัคร
สมัครทาง Internet เท่านั้น ทาง www.grad.mahidol.ac.th เมนูผู้สนใจเข้าศึกษา วันที่ 6 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2567
2.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบทางเว็บไซต์ www.ce.mahidol.ac.th วันที่ 5 มิถุนายน 2567
3.สอบข้อเขียน วันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
4.สอบสัมภาษณ์ วันที่ 16 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
5.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ทางเว็บไซต์ www.ce.mahidol.ac.th ในวันที่ 20 มิถุนายน 2567
 
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดขั้นตอนการรับสมัครและเอกสารหลักฐานประกอบการรับสมัครได้ทาง
 
เอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี้
https://docs.google.com/file/d/1c1PdbfB6gXai4WJg5nQbzW2pmmfYgaUJ/edit?usp=docslist_api&filetype=msword
 
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ (รอบสอบสัมภาษณ์) สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2567

รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ เวลาการสอบสัมภาษณ์

     1.นายเฉลิมพันธ์ เสซัง 09.00 – 09.30 .

     2.นางจุไรวรรณ งามชัญฤกษ์ 09.35 – 10.05 .

     3.นายพลรัฐ ตะโนดแก้ว 10.10 – 10.40 .

     4.นางสาวสุวเพ็ญ บุญศรีสุวรรณ 10.45 – 11.15 .

     5.นางสาวศิริรัตน์ เลิศสุชาตวนิช 11.20 – 11.50 .

     6.นางสาวเมธาวจี สาระคุณ 13.00 – 13.30 .

     7.นางสาวณัฎฐกานต์ โสรัตน์ 13.35 – 14.05 .

     8.นางสาวศุภกาญจน์ มุสิกาญจน์ 14.10 – 14.40

     9.นางพิสชาภรณ์ ดาราธรรม 14.45 – 15.15 .

กำหนดวันและสถานที่ในการสอบคัดเลือกรอบสัมภาษณ์

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

หมายเหตุ :

1. ขอให้ผู้สอบมาก่อนเวลาสอบ 15 นาที

2. ผู้สอบสามารถจัดเวลาระหว่างรอสัมภาษณ์ หรือหลังสัมภาษณ์ พบกับนักศึกษารุ่นพี่และศิษย์เก่าที่ยินดีมาร่วมพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการได้ ณ ห้องภาวนา ชั้น 3 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

เอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี้

https://drive.google.com/file/d/1HVSVckzqUkEs6RVCSFAnfLqRFR1OWzY8/view?usp=drivesdk

 

 

 

 

 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ (รอบข้อเขียน) ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567

       ตามที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (ภาคพิเศษ) ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 15 มีนาคม 2567 นั้น บัดนี้ จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือก (รอบข้อเขียน) ดังนี้


1.นางสาวณัฎฐกานต์ โสรัตน์
2.นายเฉลิมพันธ์ เสซัง
3.นางจุไรวรรณ งามชัญฤกษ์
4.นายพลรัฐ ตะโนดแก้ว
5.นางสาวสุวเพ็ญ บุญศรีสุวรรณ
6.นางสาวศิริรัตน์ เลิศสุชาตวนิช
7.นางสาวลลิตา ตันติมูรธา
8.นางสาวเมธาวจี สาระคุณ
9.นางสาวศุภกาญจน์ มุสิกาญจน์
10.นางพิสชาภรณ์ ดาราธรรม


        ทั้งนี้ขอให้ผู้มีสิทธิ์สอบดังรายชื่อข้างต้น ส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยขอให้เล่า “เส้นทางชีวิตของฉัน” ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 โดยพิมพ์ส่งเป็นไฟล์ Microsoft word (.doc หรือ .docx) เท่านั้น และนำส่งเอกสารทางอีเมล์ edcemahidol@gmail.com ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2567 กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการสอบคัดเลือก วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณวัลภา ศรีสวัสดิ์ โทร.065-9150998

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี้

 

 

ขอเชิญเข้าร่วม “การสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์” ในวันที่ 27-28 เมษายน 2567
 
 
“การสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์”
(Compassionate Communication)
 
วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 27-28 เมษายน 2567 
เวลา 9:00 – 17:00 น.
ณ ห้องภาวนาชั้น 3 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา 
อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา 
 
วิทยากรโดย
ยิ่งยอด หวังประโยชน์ 
วรรณา บุญช่วยเรืองชัย
 
“เวิร์กชอป 2 วันที่จะพาให้คุณมองสถานการณ์ความสัมพันธ์ในชีวิตด้วยสายตาแห่งความเข้าใจ มองสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกให้เห็นลึกลงไปถึงจิตใจ เห็นความเป็นมนุษย์ของกันและกัน นำไปสู่การสื่อสารอย่างใส่ใจและอยู่ร่วมอย่างเกื้อกูลทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง”
 
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในเวิร์กชอป
- หลักการสื่อสารตามแนวทาง Nonviolent Communication
- ฝึกเท่าทันเสียงตัดสินด้วยใจที่เป็นกลาง
- ฝึกสำรวจความคิดความรู้สึก
- ฝึกค้นหาความต้องการที่ขับเคลื่อนอยู่ภายใน
- ฝึกสื่อสารด้วยความเข้าอกเข้าใจ
- ฝึกมองหาทางเลือกในการดูแลความสัมพันธ์ด้วยใจกรุณา
 
อัตราค่าลงทะเบียน
ปกติ 5,000 บาท/ท่าน
พิเศษช่วง Early Bird 
วันนี้ถึงวันที่ 7 เมษายน 2567
4,500 บาท/ท่าน
 
ช่องทางการสมัคร : https://forms.gle/LzPJhi4hDmZr4dQt7
 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศรายุทธ์ ทัดศรี
02-441-5022-3 ต่อ 28
 
 
 
บรรยากาศงาน Open house ปี 2567 วันแรกของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

 

บรรยากาศงาน Open house ปี 2567 วันแรกของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีนี้เราจัดงานขึ้น 2 วัน ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2567
โดยวันแรกนี้จัดรูปแบบออนไลน์ มีผู้สมัครหลายท่านให้ความสนใจกับงานดังกล่าว
ได้พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกับคณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน
ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษา
ขอเชิญชวนในการส่งมอบความรัก ด้วยการมอบโปสการ์ดงานศิลปะ Arts For All

 

ส่งท้ายวันแห่งความรัก
ด้วยการส่งต่อความรักให้ครอบครัวผู้ติดเชื้อ HIV
 
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเป็นสื่อกลางในการส่งมอบความรัก
ด้วยการมอบโปสการ์ดงานศิลปะ Arts For All สำหรับผู้บริจาคทุนทรัพย์ตั้งแต่ 500 บาทเป็นต้นไป เพื่อนำเงินที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้ครอบครัวผู้ติดเชื้อรุ่นต่อ ๆ ไป
โปสการ์ดงานศิลปะ Arts For All เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ระหว่างผู้ติดเชื้อและครอบครัว อันมีเป้าหมายสร้างความมั่นคงภายในจิตใจและเชื่อมโยงสัมพันธภาพในกันและกัน
 
ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ได้ที่
 
หมายเหตุ: ยินดีรับบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล “งดรับ งดให้“ ของขวัญหรือผลประโยชน์และของกำนัล
 
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
“งดรับ งดให้“ ของขวัญหรือผลประโยชน์และของกำนัล
โดยร่วมแสดงความปราถนาดีด้วยคำอวยพรผ่านบัตรอวยพร สมุดอวยพรและสื่อสัมคมออนไลน์
เพื่อวัฒนธรรมองค์กรและเพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
 
 
ผู้อำนวยการพบชุมชนจิตตปัญญา ที่จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567
 
“พวกเราทำเพื่อสังคมกันมาก แม้อยู่ในจุดเล็กๆ แต่ทุกคนก็ทำในจุดที่เราให้คุณค่า และนั่นก็ส่งผลกระทบต่อสังคมเสมอ
การมีอยู่ของพวกเราทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเรียนรู้อื่นๆ ในสังคมยังขาดแคลนมิติด้านในอยู่มาก”
ถ้อยคำบางส่วนจากอาจารย์หมอ หรืออาจารย์ชัช, รศ.ดร.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, หลั่งไหลมาเป็นสายน้ำชุบชะโลมให้เหล่าศิษย์ในชุมชนได้อิ่มเอิบใจ ในวันผู้อำนวยการพบชุมชนจิตตปัญญา ที่จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา
 
เสียงจากศิษย์
 
“ความเข้าใจโลกและชีวิตเป็นเรื่องจำเป็น ตอนกลับไปทำงาน ยังนึกว่าเราจะเอาสิ่งเหล่านี้ไปปรากฏที่นั่นได้อย่างไร จะใช้ชุดภาษาก็ไม่ได้ ก็ต้องผ่านการทำให้เป็นวิถี ผ่านความเป็นตัวเรา”
“การเรียนรู้จากที่นี่และเราได้ใช้จริงๆ คือ การที่เราไม่ต้องเป็นใคร เป็นอะไร ไม่ต้องมีหัวโขน เพราะการที่เราดิ้นรนว่าต้องเป็นอะไรบางอย่าง มันอาจไม่ได้ตอบโจทย์อะไรให้ชีวิตเราเลย”
“เมื่อก่อนจมกับอารมณ์เยอะ แต่การเรียนรู้ที่นี่ ยังเป็นมนุษย์อยู่ ยังมีอารมณ์อยู่ แต่ไม่จมกับมัน”
“วันที่เราเข้ามาเรียนกับวันนี้ ต่างกันเลย ได้เรียนรู้สิ่งสำคัญที่เป็นรากฐานของชีวิต”
“การมาวันนี้มาเพราะ bonding บางอย่าง ไม่จำเป็นต้องมีรุ่นเดียวกันมาก็มาได้ พบอาจารย์ พบเพื่อน รุ่นไหนเราก็เจอกันได้”
“จุดเด่นของจิตตปัญญาคือ ง่ายแต่ลงลึก เดี๋ยวนี้คนเลือก workshop จากคนสอนมากกว่าสอนอะไร”
“การมี advisee เป็นการฝึกขัดเกลาตัวเองอย่างมาก ยุคต่อไปของจิตตปัญญามีทั้งโอกาสและความท้าทายมาก ต้องการ authenticity ที่เราต้องมี being นั้นจริงๆ จึงจะอยู่ให้ได้ อยากขอบคุณโอกาสที่ทำให้ได้ทำงานตรงนี้”
“มาเรียนหลังเกษียณ ก่อนหน้านี้เคยสัมผัสกระบวนการต่างๆ แต่มันก็ fade ไป พอมาเรียนก็ได้เข้าใจแก่นมากขึ้น เข้าใจว่า เราจะเอาสิ่งเหล่านี้มาอยู่ในวิถีชีวิตของเรายังไง”
“ที่มาเรียนก็อยากมีมุมมองที่ทำให้เรามีความสุข วันนี้อยากมาฟังอาจารย์ชัช กับอยากมาดูว่าพี่ๆ ทำอะไรกันบ้าง”
“เรามาเรียนและพยายามนำไปใช้ในองค์กร พบว่ามีความยาก เจอความท้าทายและความท้าทายนั้นเป็นพื้นที่ฝึกฝนตัวเอง”
นายอวยชัย อิสรวิริยะสกุล ผู้อำนวยการกองกฎหมาย เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่บุคลากรศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ในกิจกรรมอบรมด้านการป้องกันการทุจริต ผลประโยชน์ทับซ้อน

         บุคลากรศูนย์จิตตปัญญาศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอบรมด้านการป้องกันการทุจริต ผลประโยชน์ทับซ้อน การมีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร และจริยธรรมของบุคลากร คุณธรรม จริยธรรม ของบุคลากร โดยมี นายอวยชัย อิสรวิริยะสกุล ผู้อำนวยการกองกฎหมาย เป็นวิทยากรให้ความรู้ที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังมีการซักถามและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย จัดในวันศุกร์ที่ 23 ก.พ.2567 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมกับการประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการไม่รับของขวัญ และของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่


วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.20 น. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต พร้อมกับการประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการไม่รับของขวัญ และของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ 2567 ในการประชุมบุคลากรศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบุคลากรของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ร่วมรับรู้และตอบรับเจตนารมณ์ดังกล่าวร่วมกัน

 

บรรยากาศงาน Open house ปี 2567 วันที่สอง ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
บรรยากาศเรียบง่าย อบอุ่น เป็นกันเอง ไม่ต่างจากบรรยากาศในห้องเรียน ที่ได้ทำการเรียนการสอนกันจริง ๆ

 

บรรยากาศเรียบง่าย อบอุ่น เป็นกันเอง ไม่ต่างจากบรรยากาศในห้องเรียน ที่ได้ทำการเรียนการสอนกันจริง ๆ
ทั้งนี้ต้องขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม Open house 20-21 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา
ขอแสดงความยินดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง นัยนา บูรณชาติ

 

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอแสดงความยินดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง นัยนา บูรณชาติ
อาจารย์ประจำกาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง
ศิษย์เก่าระดับปริญญาโท
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ได้รับรางวัล ศิษย์เก่าดีเด่น
55 ปี วันพระราชทานนาม 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ร่วมต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ส่งเสริมค่านิยมองค์กร ดำเนินการตามหลักธรรมมาภิบาล เพื่อเป็นองค์กรที่เข้มแข็งและยั่งยืน

 

เนื่องในวันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันต่อต้านการทุจริตสากล
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ร่วมต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
ส่งเสริมค่านิยมองค์กร ดำเนินการตามหลักธรรมมาภิบาล เพื่อเป็นองค์กรที่เข้มแข็งและยั่งยืน
ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร. จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Mahidol University Quality Teaching Awards ประเภท Senior Fellow

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร. จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร
ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Mahidol University Quality Teaching Awards
ประเภท Senior Fellow จากกรอบมาตรฐานวิชาชีพแห่งสหราชอาณาจักร (UKPSF) และ Professional Standards Framework 2023 (PSF 2023)

ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเท
ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล
ขอให้เป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในการสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมต่อไป

Back To Top