บันทึกแห่งความทรงจำ บนเส้นทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โครงการจากใจสู่ใจฯ ภายใต้โครงการนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusive

  • 18 มีนาคม 2567
ระหว่างวันที่ 18-29 มีนาคม 2567 ณ เรือนจำกลางขอนแก่น บันทึกเรื่องราวโดย อ.จรายุทธ สุวรรณชนะ

 

บันทึกแห่งความทรงจำ บนเส้นทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
โครงการจากใจสู่ใจฯ ภายใต้โครงการนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation)
เพื่อขับเคลื่อนนโยบายความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusiveness) ระหว่างวันที่ 18-29 มีนาคม 2567
ณ เรือนจำกลางขอนแก่น
บันทึกเรื่องราวโดย อ.จรายุทธ สุวรรณชนะ
 
 
   บันทึกแห่งความทรงจำ บนเส้นทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
โครงการจากใจสู่ใจฯ ภายใต้โครงการนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusiveness) ระหว่างวันที่ 18-29 มีนาคม 2567 ณ เรือนจำกลางขอนแก่น
บันทึกเรื่องราวโดย อ.จรายุทธ สุวรรณชนะ

"10 วันนี้ผ่านไปเร็วมาก จนผมรู้สึกว่า ช่วงเวลาแห่งความสุขในชีวิตเรา ทำไมมันผ่านไปเร็วจัง ผมอยากให้ มีโครงการดีๆ แบบนี้อย่างต่อเนื่อง"

"ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาให้ ทำให้ผมได้เข้าใจคนรอบข้าง ได้เข้าใจตัวเอง ได้เข้าใจสังคม ทำให้ผมได้มีพื้นที่ในการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง และทำให้ผมได้รับฟังเรื่องราวของเพื่อนๆด้วยเช่นกัน

"เหมือนผมได้แม่กลับคืนมา ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ผมสงสัยเสมอว่าแม่รักผมหรือเปล่า และที่ผ่านมาผมไม่เคยบอกรักแม่ หลังจากเรียนกับพี่แล้ว ผมจะกลับไปกอดแม่ พร้อมกับบอกรักแม่ ไปกราบขอโทษท่าน"

บางถ้อยคำที่กลั่นออกมาจากความรู้สึกของคนหลังกำแพง หลังจากที่เราร่วมกันสร้างพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงเติบโตจากภายใน ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญา หลักสูตรการปรึกษาเพื่อฟื้นฟูศักยภาพความเป็นมนุษย์หรืออำนาจภายใน ซึ่งนำพาการเรียนรู้โดยศิษย์เก่าและนักศึกษาจิตตปัญญา ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร มีอยู่ 3 ส่วน ดังนี้
1.องค์ความรู้และแนวคิดต่างๆ เช่น กรอบวิเคราะห์เรื่องอำนาจ ระบบเพศ การจัดการความเครียด สุขภาวะ 5 ด้าน แนวทางการปรึกษาเพื่อฟื้นฟูอำนาจภายใน
2.การฝึกทักษะการปรึกษา เช่น การฟัง การจับประเด็นสรุปสาระสำคัญ การตั้งคำถาม การบอกจุดแข็ง การให้ข้อมูล
3.การพัฒนาศักยภาพภายในของผู้รับการปรึกษา เช่น การฟื้นฟูอำนาจภายใน การจัดการอารมณ์ การจัดการความเครียด การรักและดูแลตัวเอง การสร้างความมั่นคง ภายใน การสร้างความตระหนักรู้และเท่าทันตัวเอง

พี่น้องหลังกำแพง บอกกับเราว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เข้าใจและเข้าถึงง่าย มันเป็นเรื่องจริงที่อยู่ในชีวิตของเรา ซึ่งเราไม่เคยได้เรียนมาก่อน มันจึงนำไปใช้ได้จริงในชีวิต นับว่าเป็นช่วงเวลาดีๆ ในชีวิต ที่เราก้าวมาร่วมกันสร้างพื้นที่การเรียนรู้ดีๆให้เกิดขึ้นในสังคม

ก่อนจากลา เราได้บอกกับทุกคน รวมถึงพวกเราเอง ที่มาร่วมกันสร้างพื้นที่ดีๆให้เกิดขึ้นนี้ว่า ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตอะไรในชีวิต.... อย่าได้สูญสิ้นศรัทธาต่อตัวเอง ต่อเพื่อนมนุษย์ และอย่าได้ทอดทิ้งการเรียนรู้และการฝึกฝนขัดเกลาตัวเอง เพื่อให้เติบโตจากภายใน เพื่อให้เรามีความมั่นคง เพื่อที่จะอยู่กับชีวิตที่ไม่มีความแน่นอน เราจากลาแยกย้ายกันไปเรียนรู้และฝึกฝนกับตนเอง เพื่อจะได้กลับมาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันอีก


ดำเนินโครงการและจัดกิจกรรมโดย
อ.มัลลิกา ตั้งสงบ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษา)
อ.จรายุทธ สุวรรณชนะ กระบวนกรอิสระ / หลักสูตรครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง (ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษา)
อ.ปิยะพร เรืองฤทธิ์ นักจิตวิทยา (นักศึกษาจิตตปัญญาศึกษา)
อ.ดร.ปฏิพัทธ์ อนุรักษ์ธรรม อาจารย์ (ศิษย์เก่าจิตตปัญญาศึกษา)
 
 
Back To Top