วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช หลักสูตรสอนนอกกรอบ : ถอดบทเรียนการดำเนินงาน วันที่ 7 มีนาคม 2567

  • 01 เมษายน 2567
อาจารย์และนักศึกษา มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเนื่องจากอาจารย์มีความเข้าใจถึงความรู้สึกของนักศึกษาและนักศึกษาเข้าใจความรู้สึกของตนเองในขณะนั้น รวมถึงได้รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น นักศึกษาเกิดความอบอุ่นใจที่อาจารย์รับรู้ความรู้สึกของตนและตอบสนองต่อความรู้

ตัวอย่างเสียงสะท้อน

          “รู้สึกว่าอาจารย์สังเกตเด็กทุกคนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่วนนึงอาจจะเป็นเรื่องของสติกเกอร์ด้วย เพราะว่าอาจารย์ให้ทำมาตั้งแต่แรกแล้วบางทีก็จะมีมุมตลกเลยรู้สึกว่าอาจารย์เข้าถึงง่ายในบางโอกาส พอรู้สึกอะไรเราก็ส่งลงไปได้เลยหรือยังเรื่องกิจกรรมกลุ่มตอนนั้นเราเครียดก็เลยส่งสติกเกอร์ที่ดูไม่ได้แฮปปี้ลงไปอาจารย์ก็มาถาม เราก็บอกไปว่าเรากังวลเรื่องกิจกรรมกลุ่มค่ะเพราะกลุ่มเพื่อนคนก่อนหน้าทำไว้ดี แต่เรายังไม่ได้ปรับแก้อาจารย์ก็จะมาคุยด้วยส่วนตัวตอนหลังว่ากิจกรรมเป็นยังไงบ้างรู้สึกว่าอาจารย์มีส่วนช่วยหลายหลายอย่างก่อนจะลงคลินิก”

            “ส่งสติกเกอร์รู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่ดีเพราะว่าเราเข้าใจอาจารย์ แล้วอาจารย์ก็เข้าใจเรา ซึ่งตอนแรกอาจจะไม่เข้าใจ แต่พอทำทุกวันก็เข้าใจตัวเอง แล้วอาจารย์ก็เข้าใจเรา มีอะไรก็ไม่ต้องเก็บไว้คนเดียวซึ่งอาจารย์ก็ไม่ได้จะต้องมาคุยกับเราทั้งวันแต่คอยดูว่าเราเป็นยังไงบ้าง แล้วเค้ามาช่วยเวลาเราไม่โอเค”

            “กิจกรรมส่งสติกเกอร์นี้คิดว่าดีเพราะนอกจากจะรู้จักความรู้สึกของตัวเองแล้ว รู้จักความรู้สึกของเพื่อน ก็รู้สึกว่าได้สนิทกันมากขึ้นกับอาจารย์เพราะเวลาส่งสติกเกอร์ไปก็ไม่ได้ไปเปล่าเปล่า อาจารย์จะไล่ถามว่าอันนี้หมายความว่ายังไงรู้สึกยังไงอยู่เหมือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันไปด้วย”

“ถ้าส่งสติกเกอร์เศร้ามาอาจารย์จะถามเลยว่าวันนี้หนูส่งสติกเกอร์ร้องไห้มาหนูมีอะไรหรือเปล่า ไม่สบายใจหรือเปล่า ถ้านักศึกษารู้สึกว่าเศร้าแซดกันเยอะ อาจารย์อาจจะเปลี่ยนรูปแบบการเรียน หรือถ้าวันไหนที่หมดพลังก็จะชวนพูดคุยบ้างเรียนไปบ้างสลับสลับกันไปไม่ให้รู้สึกว่าเครียดมาก”

“รู้สึกว่าตอนเลือกสติกเกอร์เราได้คิดว่าเอออันเนี่ยมันตรงกับอารมณ์เราพอดี เพราะสติกเกอร์ LINE ก็มีหลากหลาย ตอนที่เลือกเราก็ได้คิดได้ทบทวนใจตัวเองไปด้วย”

 

Back To Top