การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา

  • 26 มิถุนายน 2566
โครงการวิจัยเรื่อง การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลองคล้ายธรรมชาติ โดยความสำคัญอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาให

 

แก้ไข

การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา
The Cultivation of Change Agents amongst the Youth in Aeko – Saenkumlue Village, using the Contemplation-oriented Transformative Facilitation

 

คณะผู้วิจัย : สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, มนทิพย์ กิจยิ่งโสภณ, ยิ่งยอด หวังประโยชน์, เดโช นิธิกิตตน์ขจร, และ สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

 

โครงการวิจัยเรื่อง การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋ – แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลองคล้ายธรรมชาติ โดยความสำคัญอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาให้แก่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่คัดเลือกมาเป็นผู้เข้าร่วมการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านในอันเป็นศักยภาพภายในของผู้เข้าร่วม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงงานต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนชุมชนอันเป็นศักยภาพภายนอกของผู้เข้าร่วม และผลักดันให้เกิดการสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกันกับชาวบ้านของแอโก๋ – แสนคำลือ ผลของการวิจัยชี้ว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใน ได้แก่ การเริ่มที่จะสื่อสารความรู้สึกภายในออกมาอย่างซื่อตรง ความกล้าและมั่นใจในการพูดการแสดงออกต่อหน้าสาธารณะ การเริ่มประคองสติและควบคุมกาย / ใจให้มีความสงบเย็น การเริ่มเห็นความสำคัญและแสดงออกในลักษณะของการเอาใจเขามาใส่ใจเราและการพึ่งพาอาศัยกัน การได้รับแรงบันดาลใจในการเป็นผู้นำที่ดี และการมีสัมพันธภาพที่มั่นคงดีงามกับบุคคลใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ยังไม่เกิดมุมมองร่วมที่เชื่อมโยงพลังของกลุ่มเข้าด้วยกันให้สามารถขับเคลื่อนงานเชิงระบบในภาพรวมได้ ส่วนผลสัมฤทธิ์ภายนอกนั้นแม้กลุ่มสามารถพัฒนาทักษะของการพูดการแสดงออกต่อหน้าสาธารณะได้ดี รวมถึงให้ความสำคัญและฝึกฝนด้านการทำบัญชีครัวเรือนและการเขียนโครงการอย่างจริงจัง แต่กลุ่มก็ยังไม่สามารถรวมตัวเพื่อริเริ่มงานเชิงระบบได้ ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานต่าง ๆ เพื่อชุมชนนั้นจะต้องใช้เวลาบ่มฟักจนกว่าจะถึงซึ่งความพร้อมของแต่ละคนที่จะขับเคลื่อนออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมสื่อสารและพบปะกันระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย คณะผู้วิจัย และชาวบ้าน สามารถสร้างการสานสัมพันธ์ และปรับทัศนคติให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่า ผลของกระบวนการเรียนรู้ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตสำนึกของผู้เข้าร่วมจนส่งผลดีต่อระดับสัมพันธภาพใกล้ชิด แต่ยังไปไม่ถึงระดับชุมชน / สังคมโดยรวม ผู้วิจัยได้ให้แนวทางการเรียนรู้เชิงลึกต่อเนื่องเพื่อการยกระดับจิตสำนึกและพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้มีความสมบูรณ์ โดยประกอบด้วยกรอบการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ การพัฒนาศักยภาพมิติด้านในขั้นสูง การเชื่อมโยงกับรากเหง้าและวิถีชีวิตเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเป็นแบบอย่างที่ดีงาม และการฝึกฝนทักษะการเป็นกระบวน

 

Back To Top