สองกระแสแห่งคําสอนว่าด้วยสติ: มหาสติปัฏฐานสูตรและการลดความเครียดด้วยสติ

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.หิมพรรณ รักแต่งาม

  • 01 มกราคม 2563

 

บทความประจำปี : 2563


ชื่อบทความ : สองกระแสแห่งคําสอนว่าด้วยสติ: มหาสติปัฏฐานสูตรและการลดความเครียดด้วยสติ


ชื่อวารสาร : วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 8 ฉบับเพิ่มเติม S344

 

ผู้เขียน : ดร.หิมพรรณ รักแต่งาม


นักวิจัยร่วม : 


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย


อ้างอิง : 

 


บทคัดย่อ


          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการสอนและคําสอนว่าด้วยสติตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตรและการลดความเครียดด้วยสติ และวิเคราะห์ความสอดคล้องและแตกต่างของทั้งสองกระแส ด้วยการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระแสที่หนึ่งหรือคําสอนในมหาสติปัฏฐานสูตรอันเป็นแนวทางดั้งเดิมนั้น การเจริญสติเป็นไปเพื่อรู้แจ้งนิพพาน ด้วยหลักการคือสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ผ่านฐานทั้งสี่คือกาย เวทนา จิต ธรรม ส่วนกระแสที่สองนั้น เน้นการบรรเทาความทุกข์ในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะความเครียด ความกดดัน ในการทํางานหรือในความสัมพันธ์ หลักการจึงเป็นไปในแนวที่จะช่วยให้เกิดโยนิโสมนสิการ เช่น การยอมรับ ความอดทน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการพูดคุย ฝึกสติในรูปแบบและชีวิตประจําวัน เช่น การตามลมหายใจ ทั้งสองกระแสนี้แม้ใช้คําว่า “สติ” เป็นองค์ธรรมหลัก แต่ให้ความสําคัญแก่องค์ธรรมอื่นๆ ด้วย ทว่า ความแตกต่างอย่างสําคัญคือเป้าหมายที่ต่างกัน อันส่งผลให้หลักการและแนวทางการปฏิบัติต่างกันไปด้วย เป้าหมายที่ต่างกันมีมูลเหตุมาจากการให้ความหมายแก่ “ทุกข์” ที่ต่างกัน กระแสที่สองเน้นถึงการบรรเทาทุกข์ในชีวิตประจําวัน สติจึงเป็นเครื่องมือในการบําบัดวิธีหนึ่ง ในขณะที่ความทุกข์ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นลงลึกไปจนถึงเหตุเกิดเหตุดับของทุกข์ เป็นปรากฏการณ์อย่างละเอียดที่เกิดขึ้นภายในจิต ซึ่งเมื่อดับความทุกข์ในระดับนี้ได้ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ความหมายของ “ทุกข์” ที่ต่างกันจึงส่งผลให้คําสอนว่าด้วยสติของทั้งสองกระแสแตกต่างกัน


คําสําคัญ : สติ; มหาสติปัฏฐานสูตร; การลดความเครียดด้วยสติ

 

Back To Top