โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 1

ดำเนินการเสร็จแล้ว

คุณสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ และคณะ

  • 01 มกราคม 2550

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2550

 

ชื่อโครงการวิจัย : โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 1


หัวหน้าโครงการ : คุณสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ และคณะ

 

นักวิจัยร่วม :  

 

ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย


ปีงบประมาณ : มกราคม – ธันวาคม 2550

 

แหล่งเงินทุน : 

 

ทุนภายนอก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 1

     

        บทนำโครงการศึกษาเบื้องต้นเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนและมหาวิทยาลัยมหิดลริเริ่มดำเนินการโดยมีสมมุติฐานว่าชุมชนที่มีสุขภาวะจะเอื้อให้เกิดการพัฒนาระดับความสุขของปัจเจกบุคคลที่สูงขึ้น และนำไปสู่การผลักดันการพัฒนาดังกล่าว  โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการดังนี้ 1) เพื่อสร้างฐานความรู้ในการผลักดันนโยบายการพัฒนา 2) เพื่อสร้างเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสุขภาวะและการเรียนรู้จิตตปัญญาในระดับชุมชน 3) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้กับชุมชนในเรื่องสุขภาวะและยกระดับวัฒนธรรมแห่งศักดิ์ศรี คุณค่า ความดีงาม และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง 4) เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และดำเนินงาน  วิธีการศึกษาวิจัย เป็นการ ศึกษาเบื้องต้น (A preliminary study) ดำเนินการในระยะเวลา 1 ปี (มกราคม – ธันวาคม 2550) ส่วนหนึ่งเป็นการศึกษาจากองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว (Desk research) และอีกส่วนหนึ่งเป็นการศึกษาจากการเข้ามีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและกลุ่มผู้มีความเกี่ยวข้อง และดำเนินการจัดการความรู้ขึ้นในลักษณะสหสาขาและข้ามศาสตร์เพื่อใช้ในการพัฒนาต่อไป โดยเลือกพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมเป็นพื้นที่ดำเนินการ  ผลของการศึกษา พบว่า  1) คำสอนในพระพุทธศาสนากับการพัฒนาความสุขสามารถใช้เป็นหลักชัยในการพัฒนา ส่วนความรู้จากตะวันตก เช่น Positive Psychology และ Character Education มีองค์ความรู้และวิธีการที่สมควรติดตามนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบท องค์ความรู้ในเชิงกระบวนการและตัวอย่างของความพยายามมีอยู่มากที่สามารถนำมาประยุกต์ได้  องค์ความรู้เหล่านี้มีเพียงพอที่จะใช้ในการพัฒนา  2) ชุมชนพุทธมณฑลมีปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนา  สุขภาวะอยู่เป็นจำนวนมาก  ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในระดับปัจเจกบุคคล ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย สิ่งแวดล้อมที่ยังเอื้อ การมีหน่วยงานการศึกษาหลายระดับในพื้นที่  และที่สำคัญยิ่งคือการเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาได้แก่ “พุทธมณฑล” น่าจะเอื้อต่อการพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป 3) อย่างไรก็ตามพลังที่จะขับเคลื่อนในพื้นที่ยังขาดโครงสร้างของการรวมพลังเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งยังเป็นความท้าท้ายต่อการพัฒนาสุขภาวะในพุทธมณฑลในลำดับต่อไป  สรุป การศึกษาเบื้องต้นนี้ชี้ให้เห็นถึงความพร้อมของความรู้ที่สามารถใช้เป็นฐานในการพัฒนา คงเป็นความน่าเสียดายของชุมชนพุทธมณฑลและประเทศไทย  หากชุมชนนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา และแหล่งการศึกษา แต่นอกเขตของสถานที่เหล่านี้แล้วชุมชนพุทธมณฑลไม่มีอะไรแสดงถึงความเป็นเมืองแห่งพุทธะ หรือเมืองของผู้เรียนรู้แต่อย่างใด หากไม่มีการพัฒนาสุขภาวะอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพคาดว่าใน 20-30 ปีข้างหน้าชุมชนพุทธมณฑลน่าจะมีสภาพไม่ต่างจากชุมชนชานเมืองรอบกรุงเทพฯที่อื่น  ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คณะผู้วิจัยเสนอให้ภาคีที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดให้เกิดกระบวนการพัฒนาสุขภาวะในอำเภอพุทธมณฑลอย่างเป็นระบบและมุ่งเป้าโดยอาศัยความรู้เป็นฐานของการพัฒนา สำหรับยุทธศาสตร์ในการเริ่มต้น คณะผู้วิจัยเสนอให้พิจารณาการพัฒนาสุขภาวะอย่างเร่งด่วนในกลุ่มเด็กและเยาวชน และการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชนพุทธมณฑลให้เอื้อต่อสุขภาวะเป็นเข็มมุ่งในเบื้องต้น

Back To Top