ดำเนินการเสร็จแล้ว
คุณสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ
โครงการวิจัยประจำปี : 2551
ชื่อโครงการวิจัย : โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและ ชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 2
หัวหน้าโครงการ : คุณสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ
นักวิจัยร่วม : คุณประภา คงปัญญา และคณะ
ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย
ปีงบประมาณ : เมษายน 2551 -มีนาคม 2552
แหล่งเงินทุน :
ทุนภายนอก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
![]() |
|
โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและ ชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 2 |
|
บทนำ โครงการศึกษาเบื้องต้นเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วมดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และดำเนินการต่อเนื่องเป้นปีที่สองภายใต้การสนับสนุนของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมเด็กและเยาวชนในชุมชนพุทธมณฑลให้มีสุขภาวะโดยใช้ฐานองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสุขทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ 3) ส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาสุขภาวะให้มีความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาสู่ระดับนโยบายในท้องถิ่นและระดับประเทศ และ 4) สร้างฐานความรู้ในการผลักดันประเทศไทยให้ลงทุนอย่างจริงจัง เกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาวะ และเรียนรู้จิตตปัญญาในชุมชน วิธีการศึกษาวิจัย เป็นการทดลองประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และเครือข่ายที่มีอยู่ในการพัฒนา และเครือข่ายที่มีอยู่ในการพัฒนา ในรูปของการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Intervention & Learning or Participatory Action Development and Research) มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (เมษายน 2551 – มีนาคม 2552) ผลการศึกษา มีดังนี้ 1) แกนนำทุกฝ่ายมีความเป็นหนึ่งเดียวมีความรักในชุมชนท้องถิ่นที่พัฒนาหรือมีความเป็นนักรักถิ่นเป็นเป้าประสงค์ร่วมกัน (Shared purpose) เป็นปัจจัยเอื้อที่สำคัญ การค้นหาแกนนำที่ดำเนินการอย่างเข้าถึงและรอบคอบเป็นกลวิธีสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และการพัฒนาศักยภาพของแกนนำทั้งในด้านกว้างและด้านลึกผ่านการพัฒนาจนได้รูปธรรมความสำเร็จในปีนี้คือ ความพยายามร่วมกันในการพัฒนาสะพานหน้าวัดมะเกลือ ตำบลคลองโยง วังปลาหน้าวัดสาลวัน ตำบลศาลายา การพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ ตำบลมหาสวัสดิ์ ตลอดจนป้ายประชาสัมพันธ์ความสุขทั่วชุมชนเพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ 2) ได้กิจกรรมที่อาสาสมัครอาวุโสในชุมชนมาเยี่ยมเด็กที่มีอายุช่วง 8 ถึง 10 ปีที่โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ โดยมีหลักการสำคัญคือ ความมีและเป็นกัลยาณมิตร และการทำความเข้าใจว่าในชีวิตย่อมมีทั้งสุขและทุกข์มาเยี่ยมเยือนเป็นธรรมดา มีรูปแบบกิจกรรม 8 ตอนและตัวอย่างแนวทางปฏิบัติของกิจกรรม ซึ่งนำไปทดสอบแล้ว 2 ตอน พบว่าเป็นกิจกรรมที่มีศักบภาพต่อการพัฒนาสุขภาวะของเด็ก ครูตลอดจนอาสาสมัคร 3) ดำเนินการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาสุขภาวะให้มีความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาสู่ระดับนโยบายในท้องถิ่นและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างเครือข่าย ขยายแนวคิด ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความพยายามในการเรียนรู้ เพื่อพํฒนาศักยภาพของคนทำงานและสานสัมพันธ์เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่แนวคิดสู่วงกว้างโดยการจัดพิมพ์หนังสือ สรุป การดำเนินโครงการฯ ในปีนี้โดยรวมแล้วยังเป็นเพียงการเริ่มต้นของกระบวนการนำความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะที่มีอยู่ในมาประยุกต์ใช้และการเรียนรู้ใหม่จากการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ทิศทางการดำเนินงานเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และคาดว่าความรู้และประสบการณ์ของโครงการฯ จะเป็นฐานความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการผลักดันประเทศไทยให้ลงทุนอย่างจริงจังเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาวะ และการเรียนรู้จิตตปัญญาในชุมชนต่อไป ข้อเสนอแนะ 1) ควรดำเนินการต่อเนื่องโดยยึดวัตถุประสงค์เดิมแต่มีความยืดหยุ่นในรูปแบบกิจกรรม 2) จัดกระบวนการให้สามารถตอบสนองต่อดจทยืที่มาจากชุมชนได้มากขึ้นและเชื่อมโยงให้เกิดการเข้าร่วมแบบอาสาสมัครที่มีความหลากหลายแต่มีเป้าหมายเดียวกัน 3) จัดให้มีการดำเนินการที่เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกัน 4) ให้ความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งของแกนนำทุกฝ่ายเพื่อให้การขับเคลื่อนมีกำลังและต่อเนื่อง 5) ค้นหารูปธรรมเชิงโครงสร้างของการพัฒนาที่เหมาะสมกับการพัฒนาสุขภาวะในระยะยาวตลอดจนรูปแบบของการวิจัยที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาดังกล่าว
|