โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์

  • 01 มกราคม 2551

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2551

 

ชื่อโครงการวิจัย : โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา


หัวหน้าโครงการ : ดร.พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์

 

นักวิจัยร่วม :  ธีระพล เต็มอุดม, ดร.ชลลดา ทองทวี, ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ

 

ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย


ปีงบประมาณ : 1 เมษายน 2551 - 31 มีนาคม 2552


แหล่งเงินทุน : 

 

ทุนภายนอก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา

     

        โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษา โดยทดลองใช้โมเดล “จิตตปัญญาพฤกษา” ซึ่งเป็นผลจากการโครงการวิจัยสำรวจพรมแดนความรู้จิตตปัญญาศึกษา (2551) โมเดลนี้แสดงคุณลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบจิตตปัญญาศึกษาในรูปแบบของส่วนต่างๆ  ของต้นไม้ คำถามวิจัย 2 ข้อของโครงการ ได้แก่ 1) การประยุกต์โมเดล “จิตตปัญญาพฤกษา” ในระดับอุดมศึกษาควรมีกระบวนการอย่างไร 2) การจัดการเรียนการสอนแนวจิตตปัญญาศึกษามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) ของผู้เรียนหรือไม่ อย่างไร

        โครงการเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเอกสารและทบทวนวรรณกรรม การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามวงจรปฏิบัติการ-การสะท้อน (Action-Reflection) ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Acting) การสังเกต (Observing) และการสะท้อน (Reflecting) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การเขียนบนทึก  และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ในกรณีศึกษาชั้นเรียนสองแห่ง คือ ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะเวลาการศึกษาคือในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551

       ผลการวิจัย พบว่า จิตตปัญญาพฤกษา สามารถเป็นโมเดลที่มีประโยชน์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา เพราะช่วยให้ผู้สอนมีฐานคิด (Conceptual Basis) และแนวทาง (Guideline) ในการเข้าใจ วางแผน เตรียมการ ดำเนินการ และประเมินชั้นเรียน

       กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) ได้ ดูจากระดับของ คือ ปัญญา-ความรักความเมตตา โดยสัมพันธ์กับความสอดคล้องของสามเส้นทางการเรียนรู้ คือ เส้นทางการสะท้อน-ปรับบทเรียน และเส้นทางการเรียนรู้ของผู้เรียน

และ หัวใจของกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษานี้ อยู่ที่การสร้างเหตุของการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน คือ การมีสติระลึกได้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่เสมอ รู้ว่ากระบวนการใดเหมาะกับตัวผู้เรียนเองและเหมาะกับชั้นเรียน มีความจดจ่อต่อเนื่องไม่ย่อท้อ เกิดความสุขรู้สึกดีทั้งก่อนระกว่างและหลังทำ ผ่อนคลาย มีใจตั้งมั่น และที่สำคัญคือไม่คาดหวัง

        โครงการนี้มีข้อเสนอแนะว่าการขับเคลื่อนเรื่องจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษา ควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเตรียมผู้สอน การส่งเสริมให้มีเครือข่ายของกัลยาณมิตรในการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน การสนับสนุนจากหน่วยงาน และปรับระบบการประเมินทั้งในผู้เรียนและผู้สอนให้สนับสนุนการเรียนรู้ที่แท้จริง

 

Back To Top