โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและ ชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 3

ดำเนินการเสร็จแล้ว

คุณสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ และคณะ

  • 01 มกราคม 2553

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2553

 

ชื่อโครงการวิจัย : โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและ ชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 3


หัวหน้าโครงการ : คุณสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ และคณะ

 

นักวิจัยร่วม :  

 

ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย


ปีงบประมาณ : 2553


แหล่งเงินทุน : 

 

ทุนภายนอก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและ ชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม : ปีที่ 3

   
            การดำเนินงานโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาอย่างมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ปี 2550 อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีข้อมูลสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และได้รวบรวมองค์ความรู้ที่สำคัญต่อเป้าประสงค์ของโครงการไว้ระดับหนึ่ง อีกทั้งมีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาทั้งในและนอกพื้นที่อำเภอพุทธมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมาย มีรูปธรรมความสำเร็จของการพัฒนาในพื้นที่ในด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและรูปแบบการพัฒนาศักยภาพความสุขในเด็กและเยาวชนอย่างมีส่วนร่วม ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของโครงการอย่างต่อเนื่อง รายงานฉบับนี้เป็นรายงานผลการศึกษาของโครงการในปีที่ 3 ซึ่งให้ความสำคัญสุงสุดต่อแนวคิดที่ว่า ไคนคือศูนย์กลางของการพัฒนาและคนคือผู้ขับเคลื่อนและได้รับผลจากการพัฒนา”

     การดำเนินงานจึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1) การส่งเสริมอาสาสมัครเข้ามาร่วมเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่เอต่อการพัฒนาสุขภาวะในพื้นที่ 2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพความสุขของเด็กและเยาวชนต่อเนื่อง และ 3) การส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาสุขภาวะให้มีความเข้มแข็งรวมทั้งการขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาสู่ระดับนโยบายทั้งในและนอกพื้นที่จากฐานความรู้และประสบการณ์ของโครงการ โดยมีผลการศึกษาวิจัยที่สำคัญดังนี้

     ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยที่หลากหลายแต่มีเป้าหมายเดียวกัน อาสาสมัครสหสาขาวิชาที่ผ่านการคัดเลือกได้ค้นพบทั้งศักยภาพและจัดอ่อนที่สำคัญของชุมชนที่อาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาสุขภาวะให้มีความก้าวหน้าประณีตขึ้น และสามารถสร้างกิจกรรมเชิงบวกที่มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาวะของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ตลอดจนมีรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพความสุขในเด็กและเยาวชนในช่วงวัย 8-16 ปี ที่หลากหลาย ซึ่งพบว่าทั้งกลุ่มเป้าหมายและอาสาสมัครได้รับผลทางด้านสุขภาวะและมีแนวโน้มมีฉันทะของการดำเนินการต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมพบว่าเกินกว่าความคาดหมายของหลายฝ่าย

     การดำเนินการในปีที่ 3 ได้รับความร่วมมือและได้รับความไว้วางใจจากผู้นำชุมชน ประชาชนและเด็กเยาวชนในพื้นที่เป็นอย่างดี อีกทั้งความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาสุขภาวะที่พุทธมณฑลเป็นที่รับรู้ทั้งในพื้นที่ ในเวทีระดับประเทศและนานาชาติในระดับหนึ่ง คนในชุมชนเป้าหมายมีความพร้อมที่จะร่วมกันพัฒนามากขึ้น และมีประชาคมทั้งในและนอกพื้นที่มีแนวคิดและเข้ามาร่วมดำเนินการในพื้นที่พุทธมณฑลอย่างหลากหลายมากขึ้นในช่วงของการดำเนินโครงการปีนี้ ตลอดจนการที่มหาวิทยาลัยมหิดลประกาศที่จะดำเนินการวิจัยชุมชนในระกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่นี้ต่อไป นับเป็นโอกาสของอำเภอพุทธมณฑลที่จะพัฒนาสู่มณฑลสุขภาวะที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นและเป็นแบบอย่างของการพัฒนาสำหรับพื้นที่อื่นของประเทศต่อไป

     สำหรับรายละเอียดของรายงานที่นำเสนอนี้ เป็นการรายงานเชิงกิจกรรมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานที่มีความหลากหลายโดยละเอียด ซึ่งรวบรวมเขียนขึ้นโดยคุณประภา  คงปัญญา พร้อมทั้งส่งบทท้ายซึ่งเป็นการสะท้อนความคิดของผู้อำนวยการการประสานงานโครงการ ดร.สุทธิลักษณ์  สมิตะสิริ ต่อประสบการณ์การมีส่วนร่วมในช่วงที่ผ่านมา ส่วนการสรุปและถอดบทเรียนทางโครงการฯ ได้ทำการรวบรวมเรียบเรียงเป็นหนังสือต่างหาก เพื่อให้สามารถเผยแพร่เป็นองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาสุขภาวะและการพัฒนาจิตตปัญญาศึกษาในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น

 

Back To Top