การติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต มิติทางจิตใจผู้ต้องขัง

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร

  • 01 มกราคม 2555

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2555

 

ชื่อโครงการวิจัย : การติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต มิติทางจิตใจผู้ต้องขัง


หัวหน้าโครงการ : ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร

 

นักวิจัยร่วม :  

 

ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย


ปีงบประมาณ : 2555


แหล่งเงินทุน : 

 

ทุนภายนอก : เครือข่ายพุทธิกาเพื่อ พระพุทธศาสนาและ สังคม

 

 

การติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต มิติทางจิตใจผู้ต้องขัง

   

        โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต-มิติจิตใจของผู้ต้องขัง เป็นโครงการที่เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม โดยพระศาล วิสาโล เป็นประธาน ได้ร่วมกับโครงการกำลังใจในพระดำรงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการต่อยอดโครงการจากเดิมที่เคยดำเนินการมาในช่วงปี พ.ศ. 2553-2554 ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามิติด้านจิตใจและเสริมสร้างคุณค่าชีวิตให้กับผู้ต้องขังและเป็นผลงานที่เห็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางโครงการพุทธิกา ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าจึงได้จัดดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2554 ขึ้น โดยมีกิจกรรมในโครงการรวมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ได้แก่

     1) “โครงการเล่าเรื่องจากแดนประหาร” รุ่นที่ 2 (อบรมในแดนการศึกษา เรือนจำกลางบางขวางจังหวัดนนทบุรี)

     2) “โครงการมิตรแท้แดนพยาบาล” (อบรมในแดนพยาบาล เรือนจำกลางบางขวางจังหวัดนนทบุรี)

     3) “โครงการพัฒนาผู้ต้องขังสู่การเป็นกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จิตต์เสรี” (ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4) อบรมในแดนหญิง เรือนจำกาญจนบุรี และแดนหญิง จังหวัดลำพูน กับมีการพบกลุ่มกองบรรณาธิการในเรือนจำเดิม คือเรือนจำกลางบางขวาง แดนหญิง เรือนจำกลางราชบุรี ทัณฑสถานหญิงสงขลา เพื่อติดตามต้นฉบับ

     โดยมีศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการติดตามประเมินผล ดังนี้

     1. เพื่อเป็นกลไกติดตามการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ

     2. เพื่อให้ทราบข้อมูล ความสำเร็จ ความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการฯ ว่าบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้มาหน้อยเพียงใด

     3. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการฯ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ

     กระบวนการติดตามประเมินผลภายในเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลและพัฒนาแนวทางการทำงาน โดยเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในทีมระหว่างผู้ปฏิบัติงาน และทีมประเมินผลภายใน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานและมีกระบวนการปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยผู้ประเมินได้เข้าร่วมอยู่ในดครงการตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นดำเนินงาน ติดตามและเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละขั้นตอนของการทำงาน วิเคราะห์ถึงข้อดี-ข้อจำกัดที่เกิดชึ้นระหว่างการดำเนินงาน และเสนอข้อคิดเห็นที่นำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการฯ แก่ผู้ดำเนินโครงการหลัก

     คณะผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการ Stufflebeam’s CIPP Model มากำหนดขอบเขตของการประเมินดังนี้

     1. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input: I)

     2. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P)

     3. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P)

     คณะผู้ประเมินได้ติดตามการดำเนินงานของทั้งสามโครงการอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือต่างๆ อาทิ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ผู้ต้องขังและวิทยากร การสนทนากลุ่ม การสังเกต เป็นต้น ผลของการประเมิน พบว่า

     จุดแข็งของโครงการอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงทัศนคติ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ต้องขัง ได้แก่

     วิทยากรและวิทยากรพิเศษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกระบวนการที่จัดอบรม ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงผู้สามารถถ่ายทอดทั้งทักษาการเขียนและสร้างความเชื่อมมั่น กำลังใจ กระบวรกรจิตตปัญญา ซึ่งสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนามิติจิตใตของผู้ต้องขัง วิทยากรพิเศษทุกท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ถ่ายทอดประสบการณ์ สื่อสารทางใจ พร้อมกับความรักความปรารถนาดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ต้องขัง

     กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ที่จัดขึ้นในโครงการล่วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่มุ่งหวังให้ผู้ต้องขังได้ทบทวนประสบการณ์ ได้เห็นชีวิตของตนเองในมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกและชีวิต

     ปัจจัยแห่งความสำเร็จของดครงการที่เห็นได้ชัดเจน คือสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจ ใฝ่รู้ เกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีการสะท้อนการเรียนรู้ทั้งจากวิทยากรและตัวผู้เรียน สามารถเปิดพื้นที่เล็กๆ แห่งความสุขให้แก่ผู้ต้องขังที่ก้อเกิดความภาคภูมิใจ ยอมรับความเป็นจริงแห่งชีวิต และอยู่ในปัจจุบันในแต่ละขณะ

     ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจสูงต่อวิทยากรและวิยากรพิเศษ รู้สึกว่าตนได้รับสิ่งดีๆ และเป็นโอกาสดีของตนที่ได้เข้าร่วมโครงการ เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนกับเจ้าหน้าที่ เกิดการยอมรับในตนเองและผู้อื่น เห็นคุณค่าและศักยภาพในตนเอง เกิดความรู้สึกอยากทำสิ่งดีๆ เพื่อผู้อื่น อยากให้มีโครงการในลักษณะเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ต้องขังอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

     ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการในโอกาสต่อไป 1) ควรเพิ่มกิจกรรมที่เน้นมิติด้านในเพื่อการพัฒนาจิตใจของผู้ต้องขังให้มีในทุกโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมได้สำรวจและสังเกตเห็น ได้เรียนรู้ด้วยใจผ่านการใคร่ครวญ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากด้านใน (inside-out) มากกว่าที่จะเป็นการเรียนรู้จากด้านนอกเพียงอย่างเดียว (outside-in) 2) ควรมีการบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ มีการประสานงานล่วงหน้ากับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะการเปลี่ยนแปลงวิทยากรพิเศษหรือยกเลิกในบางกิจกรรมอาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการในภาพรวม 3) การสื่อสารกับผู้ต้องขังที่มีพื้นฐานและภูมิหลังที่มีความแตกต่างหลากหลายควรหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะหรือภาษาอังกฤษเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเพิ่มมากขึ้น 4) การเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทางเรือนจำได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับ และเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลการเรียนรู้ในลักษณะเช่นนี้ต่อไป

 

Back To Top