การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา

ดำเนินการเสร็จแล้ว

รศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

  • 01 มกราคม 2556

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2556

 

ชื่อโครงการวิจัย : การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา


หัวหน้าโครงการ : รศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

 

นักวิจัยร่วม :  รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี, ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร, ดร.อดิศร จันทรสุข, ผศ.ดร.กนกวรรณ กิตตินิยม, นางวิมลศรี ศุษิลวรณ์, นางสาวรักษมล ตั้งคุณกิตติ, นางสาวสุวภัทร์ บุญญบัญช์, ภญ.ชรรินชร เสถียร, ทพ.นัยนา บูรณชาติ และ นางสาวอธิษฐาน์ คงทรัพย์

 

ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย


ปีงบประมาณ : 2556


แหล่งเงินทุน : 

 

ทุนภายนอก : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

 

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา

   

       ปัจจุบันสังคมไทยมีความตื่นตัวต่อการปฏิรูปการศึกษาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาในยุคศตวรรษที่21 ในสาระสำคัญของการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ละเลยคุณภาพจากภายในคือ “จิตวิญญาณความเป็นครู” รวมทั้งการสร้างชุมชนการเรียนรู้ที่ช่วยหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณความเป็นครูและการพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นองค์รวม โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายและชุมชนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3)เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายและชุมชนการเรียนรู้ของบุคลากรทางการศึกษาแนวจิตตปัญญา

        โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบไปด้วยการศึกษาทบทวนวรรณกรรม การจัดเวทีการเรียนรู้ 3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการเขียนบันทึก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 63 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น กล่าวโดยสรุป คือ ผู้เข้าร่วมเกิดพัฒนาในด้าน

(1) สติในชีวิตประจำวัน

(2) การเข้าใจและยอมรับตนเอง

(3) ความเข้าใจ

(4) การเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงตามธรรมชาติ

(5) การเกิดสมดุลในตนเอง

(6) การมีเครื่องมือที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างหลากหลาย และ

(7) ชุมชนปฏิบัติและการพัฒนาเครือข่ายปัจจัยที่นำไปสู่ชุมชนการเรียนรู้ มี 8 ประการ คือ

      (1) อุดมการณ์ส่วนตัวของสมาชิก

      (2)กระบวนการเรียนรู้ของสมาชิก   

      (3) การมีเป้าหมายร่วมกัน

      (4) การเชื่อมโยงกัน 

      (5) กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม

      (6) บริบทหรือพื้นที่ทำงาน

      (7) การสนับสนุนจากองค์กร

      (8) ทรัพยากร

 

     ข้อค้นพบนี้ไปสู่ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้และเครือข่ายของบุคลากรทางการศึกษาทางจิตตปัญญาด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตปัญญา เอื้อต่อการบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครู และช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งคุณภาพภายในและภายนอก คือ ความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 
Back To Top