ดำเนินการเสร็จแล้ว
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการวิจัยประจำปี : 2556
ชื่อโครงการวิจัย : โครงการจากใจสู่ใจ: คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง
หัวหน้าโครงการ : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวยิทยาลัยมหิดล
นักวิจัยร่วม :
ประเภทของโครงการ : โครงการวิจัย
ปีงบประมาณ : 2556
แหล่งเงินทุน :
ทุนภายนอก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
![]() |
|
โครงการจากใจสู่ใจ: คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง |
|
โครงการจากใจสู่ใจ คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง : การพัฒนาความมั่นคงภายในของสตรีผู้ต้องขังแนวจิตตปัญญาศึกษา เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้การจัดทำกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมม ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีต้องขังและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความมั่นคงภายในบนวิถุของสุขภาวะเชิงจิตวิญญาณ อีกทั้งเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ต้นแบบแนวจิตตปัญญาศึกษาที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสตรีต้องขัง เพื่อสื่อสารให้สังคมเกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสตรต้องขัง รวมถึงเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการออกแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม การศึกษาสภาวะด้านในและการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในสตรีต้องขังที่ผ่านกระบวนการและการศึกษาทัศนคติของบุคคลภายนอกที่มีต่อสตรีต้องขัง ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในเชิงระบบต่อไป ผลของการดำเนินโครงการชี้ให้เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในตัวสตรีต้องขังได้ โดยทำให้เกิดการขยับขยายโลกทัศน์ที่มีความกว้างขวางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ สามารถเห็นและเข้าใจความหมายของความเชื่อมโยงระหว่างตัวเองและคนรอบข้าง รวมถึงครอบครัวและคนที่ตนเองรักและผูกพัน อีกทั้งขยับสู่การเห็นถึงคุณค่า ความหมายของการเป็นตัวเองอยู่ท่ามกลางความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสรรพสิ่งรอบตัวบนรากฐานของหลักการมีเหตุผล และหลักการมีความรับผิดชอบในทุกการกระทำ นอกจากนี้ยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อการภาวนา มีเครื่องมือเพื่อกลับมาดูแลสติและความมั่นคงภายในตนเองได้และตระหนักรู้ต่แสภาวะในปัจจุบันขณะ นำไปสู่การยอมรับและเห็นหนทางที่จะพัฒนาตนเองให้เติบโตได้ต่อไปปรากฎการณ์เหล่านี้มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของตัวสตรีต้องขังที่ประเมินได้ระหว่างการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย การมีสติรู้ตัว การมีสัมพันธภาพที่สร้างสรรค์กับคนรอบข้าง การก้าวข้ามกรอบความคิดเดิม และการมีอิสรภาพและเข้าถึงคุณค่าภายใน รวมถึงสอดคล้องกับทัศนคติของบุคคลภายนอกที่เกิดขึ้นต่อสตรีต้องขังที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดต่างมีคุณค่าและศักยภาพภายในไม่ต่างกัน และวิถีชีวิตในเรือนจำมิได้เป็นอุปสรรคในการบ่มเพาะสันติสุขและความมั่นคงภายในให้บังเกิดขึ้น ในส่ววนของการบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ เป็นกระบวนการที่มีคุณลักษณะครบทั้ง 14 ประการ ดำเนินอยู่บนความต่อเนื่องยาวนานพอและเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ขั้นปรับตัว ขั้นเปิดมุมมอง และขั้นสร้างความมั่นคงระยะยาว ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับวาระของผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนตัวกระบวนกรเองก็จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสอดคล้อง และอยู่บนฐานความเชื่อพื้นฐานที่น้อมนำต่อการเติบโตทางจิตวิญญาณ
คำสำคัญ : สตรีต้องขัง กระบวนการเรียนรู้ จิตตปัญญาศึกษา ความมั่นคงภายใน |