การติดตามและประเมินผลโครงการฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสาปี 3

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

  • 01 มกราคม 2565

 

โครงการวิจัยประจำปี : 2565

 

ชื่อโครงการวิจัย : การติดตามและประเมินผลโครงการฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสาปี 3

 


หัวหน้าโครงการ : ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

 


นักวิจัยร่วม : ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร คณะทำงาน ภญ.ชรรินชร เสถียร คณะทำงาน

น.ส.ประภาพร อนุมานไพศาล คณะทำงาน

 


ประเภทของโครงการ : โครงการบริการวิชาการ

 


ปีงบประมาณ : 2565

 


แหล่งเงินทุน : 



 

การติดตามและประเมินผลโครงการฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสาปี 3

 

         โครงการวิจัยเรื่อง ติดตามและประเมินผลโครงการฉลาดทาบุญด้วยจิตอาสา ปี 3 เป็นการวิจัยเชิงถอดบทเรียนผ่านวิธีการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย เช่น การเฝ้าสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกในบุคคล (In-depth interview)

การสนทนากลุ่ม(Focus Group)รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ๔ ประการ ได้แก่ เพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินผลและตัวชี้วัดความสาเร็จของโครงการ เพื่อเป็นกลไกในการติดตามเก็บรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการดาเนินงานเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลความสาเร็จและความก้าวหน้าในการดาเนินงานของโครงการว่าบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด และเพื่อให้ได้แนวทางข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาการดาเนินของโครงการให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ ผลของการวิจัยชี้ว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้และเห็นมุมมองใหม่ในการทาบุญ ว่าการทาบุญไม่ใช่แค่การบริจาคทาน แต่บุญสามารถสร้างจากภายในตนเองผ่านการปฏิบัติสมาธิภาวนาหรือการลงแรงกายผ่านงานจิตอาสาเพื่อสร้างประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงความคิด ทัศนคติ มุมมองที่มีต่อชีวิต รวมถึงการได้กลับมาเห็นคุณค่าในตนเองจนนาไปสู่การยอมรับในตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งเกิดความต้องการที่อยากจะเผยแพร่และผลักดันแนวคิดฉลาดทาบุญด้วยจิตอาสาให้เป็นที่รับรู้ของผู้คนในสังคม ยิ่งไปกว่านั้น คือ การที่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนหนึ่งได้มีการรวมตัวกันโดยได้มีการนารูปแบบกิจกรรมฉลาดทาบุญไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ การที่คณะทางานโครงการฯ เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมและองค์กรภาคีทาให้เกิดมิตรภาพและสัมพันธภาพที่ดี อันส่งผลต่อแรงจูงใจเชิงบวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ถือเป็นสิ่งสาคัญยิ่งต่อปัจจัยแห่งความสาเร็จสาหรับการดาเนินงานโครงการในปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น คือ การวางบทบาทการทางานร่วมกับองค์กรภาคีในฐานะเพื่อน มีส่วนช่วยให้การขับเคลื่อนงานร่วมกันเป็นอย่างเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่และถ้อยทีถ้อยอาศัย ทั้งนี้ คณะผู้ประเมินได้นาเสนอแนวทาง 6 ข้อ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกาหนดทิศทางการดาเนินงานในอนาคต คือ การวางบทบาทเป็นผู้ให้คาปรึกษาแก่องค์กรภาคีในเรื่องการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาแบบฉลาดทาบุญ การจัดทาแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณ การพัฒนาการสื่อสารแนวคิดการทาบุญโดยเน้นการทางานร่วมกับองค์กรภาคสื่อเป็นหลัก การค้นหาและพัฒนาวัดและโรงพยาบาลที่มีปัจจัยเงื่อนไขที่เหมาะสมให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สาหรับการสื่อสารและขับเคลื่อนงาน การจัดตั้งกลุ่มจิตอาสาฉลาดทาบุญเพื่อยกระดับผู้เข้าร่วมสู่ผู้จัดกิจกรรม และการวางแผนการจัดการองค์ความรู้ร่วมกับองค์กรภาคี

 

คำสำคัญ : ฉลาดทาบุญ บุญกิริยาวัตถุ 10 จิตอาสา การประเมินผลโครงการ

 

Back To Top