การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตายของจิตอาสาดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโครงการอาสาข้างเตียง

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

  • 02 มกราคม 2560

บทความประจำปี : 2560


ชื่อบทความ : การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตายของจิตอาสาดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโครงการอาสาข้างเตียง


ชื่อวารสาร : วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์


ผู้เขียน : ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย


Link : https://tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/102057/78981


อ้างอิง : สุปรียส์ กาญจนพิศศาล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตายของจิตอาสาดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโครงการอาสาข้างเตียง. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 23(2), 91-118.

 

 


บทคัดย่อ


    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตายของจิตอาสาดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตาย ด้วยวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยทำการเก็บข้อมูลผ่านการวิจัยเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกจิตอาสาจำนวน 25 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการอาสาข้างเตียง ผลการศึกษา พบว่า การลงเยี่ยมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือนส่งผลให้จิตอาสาส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตาย จากการทัศนคติเดิมที่ว่าความตายเป็นเรื่องน่ากลัวและการพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก รวมถึงความตายเป็นเรื่องของความประมาทในการใช้ชีวิต กลายเป็นการเปิดใจยอมรับว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเป็นเครื่องเตือนใจให้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและไม่ประมาท โดยมี 3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การเปิดใจเรียนรู้ความจริงของชีวิตผ่านประสบการณ์ตรง การรับฟังและการทบทวนใคร่ครวญภายในตนเอง ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อความตายของจิตอาสาดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลจากโครงการอื่นที่มีการดำเนินงานในลักษณะใกล้เคียงกัน รวมถึงการศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติที่ได้รับการดูแลจากจิตอาสา

คำสำคัญ : การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, จิตอาสา, ทัศนคติที่มีต่อความตาย

Back To Top