การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาช่วยพัฒนาความเข้าใจผู้อื่นในแพทย์ประจำบ้าน

ดำเนินการเสร็จแล้ว

รศ.ดร.นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
วรรัชนี อิ่มใจจิตต์
ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร
นพ.ฐิติศักดิ์ กิจทวีศิลป์
ผศ.ดร.จิตรวีณา มหาคีตะ

  • 01 มกราคม 2562

 

บทความประจำปี : 2562


ชื่อบทความ : การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาช่วยพัฒนาความเข้าใจผู้อื่นในแพทย์ประจำบ้าน


ชื่อวารสาร : เวชสารแพทย์ทหารบก


ผู้เขียน : รศ.ดร.นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์ วรรัชนี อิ่มใจจิตต์ ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร นพ.ฐิติศักดิ์ กิจทวีศิลป์ และผศ.ดร.จิตรวีณา มหาคีตะ


นักวิจัยร่วม : -


ประเภทของบทความ : บทความวิจัย


Link : -


อ้างอิง : เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์, วรรัชนี อิ่มใจจิตต์, จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร, ฐิติศักดิ์ กิจทวีศิลป์, จิตรวีณา มหาคีตะ. (2562). การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาช่วยพัฒนาความเข้าใจผู้อื่นในแพทย์ประจำบ้าน. เวชสารแพทย์ทหารบก. ปีที่ 72 ฉบับที่ 3, กรกฏาคม –กันยายน 2562, น. 201 – 208.


ดาวน์โหลดบทความวิจัย : ดาวน์โหลด

 


บทคัดย่อ


          ปีการศึกษา 2561 รพ.พระมงกุฎเกล้าได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาให้แก่แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร หลักการของสุนทรียสนทนามี 4 ข้อ ได้แก่ 1) การฟังอย่างลึกซึ้ง 2) การเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) การห้อยแขวนการตัดสิน 4) การสื่อสารจากเสียงภายในที่แท้จริง วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการเขียนสะท้อนความรู้สึกและความคิดของอาสาสมัครภายหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนา วิธีการศึกษา การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาเวลา 2.5 ชม. ประกอบด้วยการแนะนำรูปแบบการเรียนรู้ การละลายพฤติกรรม พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ฝึกการฟังอย่างลึกซึ้งแบบคู่และกลุ่ม และการเขียนสะท้อนความรู้สึกและแง่คิดโดยกระบวนการเรียนรู้จะกระตุ้นการฝึกสติตลอดการอบรม การเขียนสะท้อนความรู้สึกและแง่คิดมี 4 หัวข้อ คือ หลังการเรียนสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้ง 1) ท่านได้เรียนรู้อะไร 2) ระหว่างการอบรมความรู้สึกเด่นชัดที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร 3) มีมุมมองใดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง 4) ท่านสามารถนำสิ่งได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ผลการศึกษา ผลวิเคราะห์เนื้อหาการเขียนสะท้อนความรู้สึกและแง่คิดภายหลังการอบรมพบว่า 1)อาสาสมัครได้เรียนรู้หลักการและประโยชน์ของสุนทรียสนทนา โดยเฉพาะการเข้าใจผู้อื่นและตนเอง 2) ความรู้สึกที่เด่นชัดระหว่างการอบรม คือ การเข้าใจผู้อื่นและตนเอง 3) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ การตระหนักถึงคุณภาพการฟังของตนเองที่ผ่านมา มุมมองที่ดีขึ้นต่อผู้อื่นและตนเอง 4) อาสาสมัครสามารถนำหลักการสุนทรียสนทนาไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน และบุคคลใกล้ชิด

       สรุป การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาช่วยพัฒนาแพทย์ประจำบ้านในการเข้าใจผู้อื่นและตนเอง และช่วยเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อผู้อื่นและตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพทางด้านแพทยศาสตรศึกษาประกอบการนำสุนทรียสนทนาไประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้มีคุณสมบัติรอบด้าน

คำสำคัญ : Dialogue workshop, Deep listening, Reflection

Back To Top