การสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

ดำเนินการเสร็จแล้ว

ผศ.ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

  • 01 มกราคม 2564

 

Annual article 2564

 

ชื่อบทความ : การสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

 

ชื่อวารสาร : วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

ผู้เขียน : ผศ.ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล

 

ประเภทของบทความ :   บทความวิจัย

 

Link :  https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/242255 

 

อ้างอิง : Kanjanaphitsarn, S. (2020). CREATING HAPPINESS IN ORGANIZATION THROUGH CONTEMPLATIVE LEARNING PROCESS IN MAHIDOL UNIVERSITY NAKHONSAWAN CAMPUS: การสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(3), 328-344. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/242255 

  


บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาที่เอื้อต่อ การสร้างความสุขในระดับองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ผ่านระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านความสุขของผู้เข้าร่วมที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาผ่านระเบียบวิธีวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน ผลการวิจัย พบว่า 6 ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาที่เอื้อต่อการสร้างความสุขในระดับองค์กร คือ บุคลิกภาพและ ความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษาของกระบวนกร ความสัมพันธ์ใกล้ชิด การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล การหยิบยกประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่ผู้เข้าร่วมประสบมาใช้ใน การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกออกแบบ และจัดกระบวนการเรียนรู้และการอาศัยผู้เข้าร่วมที่มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ส่วน 4 คุณสมบัติที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความสุขของผู้เข้าร่วม คือ การตระหนักรู้ในตนเอง การเปิดใจและการรับฟังอย่างลึกซึ้ง การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งภายในใจและกรอบโลกทัศน์ความเชื่อ การยอมรับสภาวะความเป็นจริงของตนเองจนนำไปสู่การเกิดมุมมองใหม่ และมีคะแนนแบบสำรวจความสุขในระดับมีความสุขอย่างยิ่ง 4 มิติกับระดับมีความสุข 5 มิติ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการนำกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในการสร้างความสุขในแต่ละกลุ่มย่อยขององค์กร

 

คำสำคัญ : วิธีการสร้างสุข องค์กรแห่งความสุข กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา

 

Back To Top