มหิดลเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ 1

(การประชุมวิชาการประจำปีเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 8)

จิตตปัญญาศึกษา...จากต้นกล้าสู่วันเวลาที่ผลิบาน

(Contemplative Education : From Seedlings to Blossoms)
วันพฤหัสบดีที่ 15 และวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2559
ณ มหิดลสิทธาคาร และ อาคารศูนย์การเรียนรู้
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
จัดโดย ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

-------------------------------------------------------------------------------

หลักการและเหตุผล

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2549 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีมติให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาและการพัฒนามิติด้านในของมนุษย์ให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและมุ่งหวังที่จะเห็นการศึกษาของไทยได้นำเอาแนวทางนี้มาบูรณาการในการจัดการศึกษาแก่สังคมอย่างจริงจัง

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่สำคัญๆ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางจิตตปัญญาศึกษา การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนจิตตปัญญาศึกษาโดยเฉพาะในระดับมหาบัณฑิต การสร้างชุมชนการเรียนรู้ร่วมทางจิตตปัญญาศึกษา การจัดทำสื่อสาธารณะ การประสานงานภาคเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา และการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ ทางด้านจิตตปัญญาศึกษา

สิบปีที่ผ่านมาจิตตปัญญาศึกษาเป็นรู้จักมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความพยายามที่เข้มแข็งและหลากหลาย ในการเชื่อมโยงการศึกษาเรียนรู้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้เรียนในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม บนฐานของความมีสติตระหนักรู้ ความเกื้อกูลกัน และการสนับสนุนให้มีการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพสูงสุดในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม การดำเนินการอันหลากหลายและกว้างขวางนี้ ที่สุดแล้วเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเป็นมนุษย์ที่มีความสุข ความรักความเมตตา ความเบิกบาน และความมีคุณธรรมเป็นสำคัญ อีกนัยหนึ่ง คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่ดีงาม ให้ยกระดับจากระดับปัจเจกบุคคล ไปสู่ระดับองค์กร จนถึงระดับชุมชนและสังคมในที่สุด

งานมหิดลเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ 1 และการประชุมวิชาการประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 8 มุ่งเน้นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนประสบการณ์อันหลากหลายของ “เมล็ดพันธุ์จิตตปัญญา” ต่างๆ ที่ถูกปลูกหว่าน หยั่งราก งอกงาม ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและสังคมภายนอก จนถึงวันนี้วันที่เมล็ดพันธุ์นั้นผลิดอกซึ่งครบสิบปีพอดี ภายใต้งาน “มหิดลเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ 1 และการประชุมวิชาการประจำปีจิตตปัญญาศึกษาครั้งที่ 8 จิตตปัญญาศึกษา : จากต้นกล้าสู่วันเวลาที่ผลิบาน (Contemplative Education : From Seedlings to Blossoms)” โดยเปิดพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงซึ่งกันและกัน พื้นที่การเสวนาทางความคิด พื้นที่การเรียนรู้ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการสานสัมพันธ์เครือข่ายของผู้ทำงานเชิงมิติด้านในและการขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญา เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติจริง เพื่อการมอบคืนความเป็นมนุษย์ที่แท้ให้แก่สังคมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อนำเสนอมุมมอง แนวคิด และประสบการณ์จากชีวิตและการทำงานของนักคิด คุรุอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับในสังคมของการเรียนรู้และเติบโตทางมิติจิตวิญญาณและความเป็นมนุษย์ที่แท้ ตลอดระยะเวลาสิบปีตั้งแต่สังคมไทยรู้จักกับจิตตปัญญาศึกษาเป็นต้นมา
  2. เพื่อเปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง บนมุมมองแห่งพัฒนาการและการขยายผลการเรียนรู้ขององค์กรเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา
    ด้วยกระบวนการเชิงประสบการณ์ตรง โดยมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา หลักสูตรและการเรียนรู้ การแพทย์และสาธารณสุข การทำงานสังคม ชุมชน และจิตอาสา และการทำงาน
    ภาคธุรกิจและความเป็นผู้นำ
  3. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการนำเสนอแนวคิดและผลงานวิจัยในศาสตร์จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการขยายผลของการเรียนรู้ ตลอดจน
    การขับเคลื่อนดำเนินงานด้านจิตตปัญญาศึกษาสู่สังคม
  4. เพื่อขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและองค์กรต่างๆ อันนำไปสู่ผลกระทบต่อสังคมและนโยบายในวงกว้างต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

มหิดลเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ 1 : จำนวนประมาณ 500-800 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 150 คน
  2. ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 100 คน
  3. หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สื่อมวลชน จำนวน 100 คน
  4. เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษาจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน
  5. นักบวช ประชาชน ผู้ที่สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน

จิตตปัญญาศึกษา...จากต้นกล้าสู่วันเวลาที่ผลิบาน : จำนวนประมาณ 350 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 50 คน
  2. ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 50 คน
  3. หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สื่อมวลชน จำนวน 100 คน
  4. เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษาจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน
  5. นักบวช ประชาชน ผู้ที่สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน

รูปแบบการจัดประชุมวิชาการ


การประชุมวิชาการประจำปีจิตตปัญญาศึกษาครั้งที่ 8 นี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 “มหิดลเพื่อการตื่นรู้ครั้งที่ 1”
       ประกอบไปด้วย Awakening Dialogue “สนทนาเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ ๑” ของ ศ. นพ. ประเวศ วะสี และ รศ. ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ และเวทีเสวนากลุ่มเพื่อนครูมหิดลในประเด็น การนาจิตตื่นรู้สู่ชั้นเรียน

ส่วนที่ 2 “จิตตปัญญาศึกษา จากต้นกล้าสู่วันเวลาที่ผลิบาน”
       ประกอบด้วยการนาเสนอผลงาน กิจกรรม และประสบการณ์การเติบโตทางจิตวิญญาณในบริบทและแวดวงการทางานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การแพทย์และสาธารณสุข การจัดกระบวนการอบรมเพื่อการสร้างกระบวนกร การประเมินผลตามแนวทางจิตตปัญญา และการใช้จิตตปัญญากับการทางานจริงในองค์กร ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา

รายละเอียดเวทีการเรียนรู้ต่างๆ/นิทรรศการประกอบด้วย


         ห้องกิจกรรมกลาง ประกอบด้วย เวทีกิจกรรมกลาง และบูธนิทรรศการของกลุ่มภาคีเครือข่าย
  1. เวทีการเรียนรู้ที่ 1 จิตตปัญญาศึกษา จากต้นกล้าสู่วันเวลาที่ผลิบาน : การนาเสนอผลงานการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปีของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. เวทีการเรียนรู้ที่ 2 จิตวิญญาณแห่งผู้ดูแล : พบกับตัวแทนคณาจารย์สายการแพทย์ การพยาบาล กายภาพบาบัด เทคนิคการแพทย์ ฯ ร่วมรับฟังและสัมผัสประสบการณ์การบ่มเพาะหัวใจความเป็นมนุษย์แก่นักศึกษาเพื่อให้สามารถดูแลตนเอง เพื่อนร่วมงานและผู้ป่วยด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยสติและความเมตตากรุณา
  3. เวทีการเรียนรู้ที่ 3 อุดมศึกษาแห่งการตื่นรู้ : พบกับตัวแทนคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เพื่อร่วมเรียนรู้การถ่ายทอดประสบการณ์ แนวคิด องค์ความรู้จากการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการตระหนักถึงคุณค่าและศักยภาพความเป็นมนุษย์ในตนเองให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
  4. เวทีการเรียนรู้ที่ 4 Training of the trainers : เรียนรู้ประสบการณ์การนาจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในการจัดกระบวนการอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ผ่านการสร้างกระบวนกรรุ่นใหม่
  5. เวทีการเรียนรู้ที่ 5 กัลยาณมิตรจิตตปัญญาประเมิน : ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมทางการประเมินกับผศ. ดร. จุมพล พูลภัทรชีวิน ที่มีรูปแบบ ขั้นตอน และกระบวนการประเมินที่มีความยืดหยุ่นหลากหลายสอดประสานไปกับบริบท ธรรมชาติ ประเภท และวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ ที่ "หวังผล" หรือ "เอื้อให้เกิดผลสาเร็จ" ไม่ใช่เป็นเพียงการประเมิน "ผล" การดาเนินงานเทียบเคียงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อตัดสินคุณค่า (Summative Evaluation) ที่ทากันอยู่ทั่วไป
  6. เวทีการเรียนรู้ที่ 6 Mindfulness in Organization (MIO) : ผู้คนจานวนมากใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในที่ทางาน การบูรณาการการฝึกสติเข้าไปในองค์กรจึงเป็นช่องทางสาคัญที่จะช่วยสร้างสุขภาวะของคน เวทีนี้จะได้เรียนรู้แนวทางการบูรณาการการฝึกสติเข้าไปในองค์กรจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติจริงจนเห็นผล

หากท่านสนใจเข้าร่วมงานสามรถลงทะเบียนออนไลน์ : ลงทะเบียนอนไลน์